พบ ไตรภูมิ โบราณสมัยอยุธยาอยู่ที่ฝรั่งเศส







ตื่นพบ “ไตรภูมิ” โบราณสมัยอยุธยาอยู่ที่ฝรั่งเศส ชี้เป็นเอกสารสำคัญระดับชาติ ขอสำเนามาศึกษา พบลักษณะการเขียนแบบอยุธยา คล้ายสนธิสัญญา ไทย-ฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เผยเป็นการเปิดประวัติศาตร์หน้าใหม่ในวงการวรรณคดีไทย  ล้างความเชื่อ ยุคอยุธยาไม่มีไตรภูมิ

สำเนาหนังสือไตรภูมิ คัดลอกมาจากต้นฉบับ ไตรยภูมิพระมาไลย จากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งชี้ว่าเป็นหลักฐานสำคัญในการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ยืนยันว่า สมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

เมื่อวันที่ 9 กันยายน นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (สวป.) กรมศิลปากร เปิดเผยว่า  สวป. ได้ค้นพบเอกสารชิ้นสำคัญระดับชาติชิ้นใหม่ คือ หนังสือไตรภูมิ  ซึ่งสันนิษฐานว่า จะเป็นไตรภูมิในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยขณะนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ทางนายปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาได้ดำเนินการคัดลอกสำนักมาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เพื่อนำมาให้สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว 

นายบุญเตือน กล่าวว่า สิ่งที่บอกว่าหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากหนังสือไตรภูมิเอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ไม่เคยถูกค้นพบในประเทศไทย เนื้อหาบางส่วนต่างไปจากไตรภูมิฉบับอื่นๆ โดยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอักขรวิธีต่างๆมาตรวจสอบแล้ว บ่งชี้ว่า หน้าต้นบอกชื่อหนังสือว่า ไตรยภูมิพระมาไลย ต้นฉบับน่าจะมีอายุเก่าถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา

ลักษณะตัวอักษรที่บันทึกในหน้าแรกเป็นแบบที่เรียกว่า อักษรไทยย่อ ซึ่งนิยมใช้กันในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ปรากฏในหลักฐานหนังสือต่างๆหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ.2231 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สำหรับเนื้อหาของไตรภูมิเล่มนี้แบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือ เรื่องไตรภูมิ และเรื่องพระมาไลย


"เอกสารไตรภูมิเล่มนี้ ไม่เคยค้นพบในประเทศไทยมาก่อน นักวิชาการหลายคนคิดว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีไตรภูมิที่เป็นลักษณะการเขียน มีเพียงสมุดภาพไตรภูมิเท่านั้น ดังนั้นในทำเนียบวรรณคดีไทยจึงไม่ปรากฎว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิ

การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดของนักวิชาการด้านไตรภูมิ จะเสนอให้คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติขึ้นทำเนียบใหม่ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิด้วย ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ นี่คือวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สำนักวรรณกรรมและประวติศาสตร์ จึงได้นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น พร้อมทั้งนำสำเนาต้นฉบับมาให้จัดทำเป็นหนังสือ ไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส จำนวน 1,000 เล่ม โดยจะนำไปมอบให้สถาบันการศึกษา หอสมุดทั่วประเทศได้ใช้ศึกษาต่อไป พร้อมกันนี้จะจัดเก็บเป็นอีบุ๊คสำหรับผู้สนใจดาวโหลดไว้ศึกษาด้วย" นักอักษรศาสตร์ กล่าว

สำหรับหนังสือไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส จะมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับคติศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา ดังนี้ อธิบายเรื่องไตรภูมิ คติไตรภูมิ-ไตรภพใน “คัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์” พระบรเมสวรสร้างจักรวาล เขาพระสุเมรุและเขาสัตบริภัณฑ์ กำเนิดมนุษย์ กำเนิดลังกาทวีป กำเนิดพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ศาสนาพระศรีอาริยไมตรี อานิสงส์ศีล 5 มหาพราหมเทพราชสร้างเทรวดาต่างๆ ไฟประลัยกัลป ทวีปทั้ง 4 ฉกามาพจรภูมิ นรกภูมิ และสำเนาเอกสารต้นฉบับ

ส่วนที่มาของหนังสือไตรภูมิปรากฏครั้งแรก คือ ไตรภูมิกถา และไตรภูมิพระร่วง ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงเรียบเรียงขึ้นในสมัยสุโขทัย พ.ศ.1888 นอกจากนี้ยังมี ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้ชำระเมื่อพ.ศ.2345 ขณะที่ไตรภูมิสมัยอยุธยานั้น เพิ่งปรากฏฉบับนี้เป็นฉบับแรก

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย




วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย  (พ.ศ. ๒๒๗๕-พ.ศ. ๒๓๑๐)

             กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลาย

                   ๑. พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ งานที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ

                      -  โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์

                   ๒. เจ้าฟ้าอภัย งานที่ทรงนิพนธ์ คือ

                     -   โคลงนิราศ

                   ๓. เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร งานที่ทรงนิพนธ์ คือ

                   -    นันโทปนันทสูตรคำหลวง

                   -    พระมาลัยคำหลวง

                   -    กาพย์เห่เรือ

                   -    กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

                   -    กาพย์ห่อโคลงนิราศ

                   -    บทเห่เรื่องกากี เห่สังวาส เห่ครวญ และเพลงยาว

                 ๔. เจ้าฟ้ากุณฑล งานที่ทรงนิพนธ์ คือ

                  -    ดาหลัง (อิเหนาใหญ่)

                 ๕. เจ้าฟ้ามงกุฎ งานที่ทรงนิพนธ์ คือ

                  -   อิเหนา (อิเหนาเล็ก)

                 ๖. พระมหานาควัดท่าทราย งานที่แต่ง คือ

                  -    ปุณโณวาทคำฉันท์

                  -    โคลงนิราศพระบาท

                  ๗. หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) งานที่แต่ง คือ

                  -    กลบทสิริวิบุลกิติ




              เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยาเริ่มระส่ำระสาย เนื่องจากการชิง
ราชสมบัติ เกิดกบฏและเกิดสงครามกับนครศรีธรรมราชและกัมพูชาจึงทำให้วรรณคดีชะงักงันเป็นเวลาเกือบครึ่ง
ศตวรรษต่อมาได้มีโอกาสรุ่งเรืองขึ้นระยะหนึ่งเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ครองครองราชสมบัติทั้งนี้เพราะ
พระมหากษัตริย์พระองค์นี้เอาพระทัยใส่ในการศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตรเป็นพิเศษผู้ถวายตัวเข้ารับราชกาลจะต้อง
มีวิชาความรู้ชั้นสามัญและบวชเรียนในพระพุทธศาสนามาก่อนทรงสนับสนุนงานวรรณคดีอย่างจริงจัง รัชกาลสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งมีเวลา ๒๖ ปี มีความเจริญทางวรรณคดีเท่าเทียมกันกับยุคทองของวรรณคดี กวีมีทั้ง
บรรพชิตและฆราวาสชายและหญิง เจ้านายและสามัญชน

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่สำคัญของยุคกรุงศรีอยุธยา


นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่สำคัญของยุคกรุงศรีอยุธยา
1.   จินดามณี
 
  หนังสือ จินดามณี นั้นมีหลายสำนวน จึงเป็นการยากที่จะระบุว่าผู้ใดเป็นผู้แต่งฉบับไหน แต่ในฉบับความพ้องนั้นส่วนใหญ่เป็นหนังสือจินดามณีที่พระโหราธิบดีแต่งถวายสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อครั้งอยู่สุโขทัย โดยแต่งให้เนื่องจากทรงได้เป็นเจ้าเมืองลพบุรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในบันทึกสมาคมวรรณคดี ปีที ๑ เล่ม ๕ พ.ศ. ๒๔๓๕ ว่า    "สมเด็จพระนารายณ์ทรงดำรัสสั่งให้พระโหราแต่งหนังสือ จินดามณี และหนังสือพระราชพงศาวดาร ด้วยว่าพวกบาทหลวงฝรั่งเศษเมื่อแรกเข้ามาสอน ศาสนาคริสต์ในพระนครศรีอยุธยานั้น ได้มาตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่เด็กไทยด้วย ดังนั้นพระนารายณ์ทรงเห็นว่าถ้าฝ่ายไทยไม่เอาเป็นธุระจัดบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้รุ่งเรือง ก็จะเสียเปรียบฝรั่งเศส คาดว่าพระโหรานั้นเป็นปราชญ์ที่มีชื่อเสียงอีกทั้งเชี่ยวชาญ พระองค์จึงมีรับสั่งให้พระโหราแต่งตำราถวาย
 2.   มหาชาติคำหลวง
 
  ประวัติ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่งและปีที่ แต่งมหาชาติคำหลวง ปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติ   คำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครอบ ๑๓ กัณฑ์ เมื่อจุลศักราช ๑๑๗๖ พุทธศักราช ๒๓๔๗ ได้แก่ กัณฑ์ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์
          ทำนองแต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่อง มหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง
3.   กาพย์มหาชาติ
              
เนื้อหาของกาพย์มหาชาตินั้น เป็นการเล่าเรื่องมหาชาติ หรือเรื่องมหาเวสสันดรชาดกนั่นเอง เป็นการแต่งแบบที่เรียกว่า ยกคาถา กล่าวคือ ยกคาถาภาษาบาลีขึ้นมาประโยคหนึ่ง แล้วแต่งภาษาไทยเล่า สลับไปเป็นช่วงๆ จนจบ โดยใช้คำประพันธ์ที่เรียกว่าร่ายโบราณ หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ร่ายมหาชาติ เนื่องจากเป็นร้อยกรองที่แต่งไว้สำหรับการเทศน์เรื่องมหาชาตินั่นเอง แต่ละกัณฑ์ (ในกาพย์มหาชาติเรียกว่าบรรพ) มีความยาวไม่มาก
4.    สมุดไทย (สมุดข่อย )
             
แต่ก่อนคนไทยบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยสมุดไทย จากกระดาษสากระดาษข่อย แต่เท่าที่พบส่วนมากจะใช้กระดาษข่อย จึงเรียกสมุดข่อยจึงจะเป็นเรื่องราวเฉพาะของสมุดข่อยเท่านั้น  ลักษณะเด่นของสมุดข่อยคือเป็นแผ่นกระดาษพับทบไปทบมา เขียนได้ทั้ง ๒ หน้า เมื่อพับเก็บเป็นเส้นจะมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาวมีปกสมุด ซึ่งเราจะเห็นอยู่ส่วนบนและล่าง สมุดพวกนี้มักได้รับการเก็บรักษาในห่อผ้าผูกอย่างมิดชิด แล้วเก็บในตู้หรือหีบพระธรรม  ซึ่งอยู่ในหอไตร  อันล้อมรอบด้วยน้ำอีกชั้นหนึ่ง จึงเห็นได้ว่าคนโบราณเก็บรักษาสมุดข่อยไว้อย่างรัดกุม เรียบร้อย แหล่งสมุดข่อยมักอยู่ตามวัด เพราะวัดได้ชื่อว่าเป็นสถาบันการศึกษาของคนไทยแต่ก่อน  แต่ปัจจุบันสมุดข่อยค่อย ๆ สูญหายหรือถูกทำลายไปจากผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือผู้เห็นแก่ได้  ศัตรูสำคัญของสมุดข่อย นอกจากร้านค้าของเก่าแล้ว ก็คือบรรดาหมอแผนโบราณ   ที่มักเอาสมุดข่อยมาเผาทำยาด้วย
5.   ใบลาน
               ต้นลาน
ใบลาน หรือ คัมภีร์ใบลาน หรือ หนังสือใบลาน เป็นเอกสารโบราณประเภทหนึ่ง ทำมาจากต้นลาน การบันทึกตัวอักษรลงในใบลานเรียกว่า จาร การทำใบลานเป็นเล่มนั้นต้องเจาะรูแล้วเอาเชือกร้อย เชือกที่ใช้ร้อยเรียกว่า สายสนอง ถ้าไม่ใช้เชือกก็อาจใช้เส้นผมมาถักร้อยก็ได้ สมัยก่อนถือเป็นสิริมงคล เมื่อร้อยผูกรวมกันแล้วเรียกว่าคัมภีร์ใบลานหนึ่งผูก ไม่เรียกเป็นเป็นเล่มเหมือนกระดาษ และอาจใช้ไม้ประกับเป็นปกหน้า ปกหลัง เพิ่มความแข็งแรงและความสวยงามของคัมภีร์ ไม้ประกับมักทำลวดลายและมีสีสันสวยงามเพิ่มคุณค่าแก่หนังสือใบลานด้วย ขอบใบลานก็อาจมีการตกแต่งให้สวยงาม แข็งแรง เรียกเป็นฉบับ ได้แก่ ฉบับล่องชาด ฉบับทองทึบ ถ้าไม่มีการตกแต่งเลยก็จะเรียกว่า ฉบับลานดิบ ขั้นตอนสุดท้ายในการเก็บรักษาอาจห่อด้วยผ้า อาจนำคัมภีร์หลายๆ ผูกมาห่อรวมกันก็ได้ แล้วเขียนบันทึกหรือทะเบียนติดไว้บนห่อเพื่อสะดวกในการค้นหา

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย



วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
              
          วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนยุคทองแห่งวรรณคดี

 เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว สมเด็จพระรามาธิปดีที่๒เสวยราชย์ต่อมาเป็นเวลาถึง ๔๐ ปี 
(พ.ศ.๒๐๓๒-๒๐๗๒)บ้านเมืองสงบสุขและศิลปกรรมเจริญมากสันนิษฐานว่าวรรณคดีสำคัญบางเรื่องเกิดขึ้นใน
ช่วงเวลานี้หลังจากวรรณคดีได้ว่างเว้นไปเป็นเวลานานเกือบร้อยปีเนื่องจากบ้านเมืองไปปกติ ต้องทำสงครามกับพม่า 
เริ่มแต่รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช จนเสียกรุงแก่พม่าในรัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราชถึงสมเด็จพระนเรศวร
มหาราชทรงกู้เอกราชได้ก็ต้องทำสงครามขับเคี่ยวกับพม่าและเขมรตลอดรัชกาล นอกจากนี้เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จ
พระเอกาทศรถก็เกิดความไม่สงบสุขภายใน พระราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ คือ พระศรีศิลป์ ทรงชิง
ราชสมบัติปลงพระชนม์เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคคย์แล้วขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์
พระองค์นี้ผนวชมาก่อน ได้สมณศักดิ์เป็นที่พระพิมลธรรม จึงเอาพระใส่ในพระพุทธศาสนา และทรงพระราชนิพนธ์
กาพย์มหาชาติ นับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแล้ว
บ้านเมืองก็เกิดความวุ่นวายภายในอีก สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงชิงราชสมบัติจากพระราชโอรสของพระเจ้า
ทรงธรรม แล้วทรงปรายดาภิเภกเป็นกษัตริย์ต่อในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้เกิดเหตุการณ์ที่มีส่วนทำลาย
วรรณคดีของชาติ  กล่าวคือพระเจ้าลูกเธอฝ่ายในพระองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ เชื่อกันว่าต้องคุณ จึงเกิดเผาตำรา
ไสยศาสตร์ เพราะเกรงจะเกิดโทษ เป็นเหตุให้วรรณคดีสำคัญต่าง ๆพลอยถูกทำลายไปด้วย

 ยุคทองแห่งวรรณคดี

 รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี เพราะมีนักปราชญ์ราชกวีและวรรณคดี
เกิดขึ้นมากมายในเวลาเพียวรัชกาลเดียวนี้ นับแต่องค์ประมุข คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงบุคคลชั้นผู้น้อย
ทั้งชายหญิง เช่น นาประตู ต่างพากันสนใจวรรณคดีและสามารถสร้างสรรค์วรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง ราชสำนักของ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นที่ประชุมกวีนักปราชญ์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์อุปถัมภ์

 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสวยราชย์ระหว่าง พ.ศ.๒๑๙๙ ถึง พ.ศ.๒๒๓๑ พระองค์ทรงพระปรีชาสมารถใน
การปกครอง และทรงปราดเปรื่องในการกวี กรุงศรีอยุธยาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดอีกช่วงเวลาหนึ่ง มีการทำ
สงคราม รบชนะเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๒๐๕ ต่อจากนั้นบ้านเมืองก็สงบราบคาบตลอดรัชกาล ทรงเวลาทะนุบำรุง
บ้านเมือง ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมให้เจริญรุ่งเรืองด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศได้มีชนชาติต่างศาสนาเข้า
มาค้าขายและเผยแพร่ศาสนามากเป็นพิเศษ เช่น ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรง
ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศส และทรงแต่งตั้งชาวกรีกผู้หนึ่งเป็นเจ้าพระยา
วิชาเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงสนพระทัยความเจริญอย่างยุโรป เช่น โปรดฯให้มีประปา
ที่พระราชวังลพบุรี คณะสอนศาสนาคริสต์ ก็ได้รับพระราชทานเสรีภาพละพระบรมราชานุเคราะห์ ให้เผยแพร่ศาสนา
คริสต์ได้อย่างกว้างขวาง โดยตั้งโรงพยาบาลรักษาคนไข้ และตั้งโรงเรียนสอนหนังสือแก่เด็กไทยควบคู่กับศาสนา
คริสต์ การเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศสดังกล่าวมีส่วนทำให้คนไทยตื่นตัวกระตือรือร้นหันมาสนใจหนังสือไทยพุทธศาสนา
ของตนเองมากขึ้น หนังสือเรียนภาษาไทยเล่มแรก คือ จินดามณี ก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้

 ๑.ความเจริญของบ้านเมือง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถและทรงชุบเลี้ยง
ข้าราชกาลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ เช่น นักรบ นักการทูต และสถาปนิก ทั้งที่เป็นคนไทยและชาว
ต่างประเทศ เมื่อบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า สมบูรณ์พูนสุขประกอบกับความสนพระทัยในทางวรรณคดีเป็นพิเศษ
ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  วรรณคดีอย่างยิ่งขึ้นไปด้วย
 ๒.ความตื่นตัวของคนไทย ในรัชกาลนี้ยุโรปเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นอันมากคนไทยจึงต้องมาตื่นตัวหันมา
สนใจศึกษาภาษาและศาสนาของตนเอง



 กวีและวรรณคดีที่สำคัญ ก่อนยุคแห่งวรรณคดี

                       ๑. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
                                -  กาพย์มหาชาติ
 กวีและวรรณคดีที่สำคัญ ยุคทองแห่งวรรณคดี
                       ๑.  พระมหาราชครู
                                -  เสือโคคำฉันท์
                                -  สมุทรโฆษคำฉันท์(ต้อนต้น)
                       ๒.  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                               -   สมุทรโฆษคำฉันท์(ต่อจากของพระมหาราชครู)
                               -  โคลงพาลีสอนน้อง
                               -  โคลงทศรถสอนพระราม
                               -  โคลงราชสวัสดิ์
                        ๓. พระโหราธิบดี
                               -  จินดามณี
                               -  พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา(ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ)
                         ๔. ศรีปราชญ์
                               -  อนิรุทธ์คำฉันท์
                               -  โคลงเบ็ดเตล็ด
                         ๕. พระศรีมโหสถ
                               -  กาพย์ห่อโคลง
                               -  โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                               -  โคลงอักษรสาม
                               -  โคลงนิราศนครสวรรค์
                          ๖. ขุนเทพกวี
                               -  ฉันท์ดุษฏีสังเวยกล่อมช้าง

----------------------------------------------------------------------------------------------

๑.กาพย์มหาชาติ

 ผู้แต่งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงพระนามเดิมว่า พระศรีศิลป์ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ ก่อน
ได้ราชสมบัติผนวชอยู่วัดระฆัง ๘ พรรษา ได้สมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม มีสมัครพรรคพวกมาก แย่งราชสมบัต
ิแล้วปลงพระชนมเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาได้ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริยเมื่อ พ.ศ.๒๑๖๓ อยู่ในราชสมบัติ ๘ ปี

 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงใฝ่พระทัยในพระพุทธศาสนา รับสั่งให้ค้นหาพระพุทธบาทจนพบที่ไหล่เขาเขตเมือง
สระบุรีและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปสวมรอยพระพุทธบาทนั้นไว้ นอกจากนี้ยังได้พระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติ

 ประวัติ พระพงศาวดารยืนยันว่าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชนิพนธ์ "พระมหาชาติคำหลวง"เมื่อ จ.ศ.๙๘๙
 พ.ศ.๒๑๗๐ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาราชนุภาพทรงสันนิษฐานว่า หมายถึงกาพย์มหาชาติ แต่ต้น
ฉบับที่เหลือตกทอดมาไม่ครบทุกกัณฑ์

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยร่ายยาว มีคาถาบาลีแทรกเป็นตอน ๆ เพื่อให้ฟังเรื่องติดต่อกันได้สะดวก

 ความมุ่งหมาย ใช้เทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง

 เรื่องย่อ เช่นเดียวกับมหาชาติคำหลวง
 กาพย์มหาชาติมีทำนองแตกต่างกับมหาชาติคำหลวง คือ ใช้ คำประพันธ์ประเภทร่ายยาวอย่างเดียว และวิธี
แปลภาษาบาลีแตกต่างกันคือ มหาชาติยกคาถาบาลีมาวรรคหนึ่งแล้วแปลเป็นภาษาไทยวรรคหนึ่ง สลับกันไป 
แต่กาพย์มหาชาติยกคาถาไว้ตอนหนึ่ง แล้วจึงแปลภาษาไทยให้เนื้อความติดต่อกันยาว ๆ เพื่อฟังเข้าใจได้สะดวก
 ถ้อยคำสำนวนที่ใช้เรียบเรียงมหาชาติเป็นภาษาง่าย ๆ ไม่สู้มีศัพท์โบราณ แต่อย่างไรก็ดี กาพย์มหาชาติยังม
ีเนื้อความยืดยาวเกินไป ไม่อาจเทศน์ในวันเดียวกัน จึงเป็นการขัดกับความเชื่อของผู้ฟัง ซึ่งเชื่อว่าจะต้องฟังให้จบ
ในวันเดียว จึงจะได้อานิสงส์แรง เกิดทัศนศาสนาพระศรีอริย์ เป็นเหตุให้กาพยมหาชาติเสื่อมความนิยมไป ต่อจาก
นั้นจึงมีการแต่งมหาชาตสำหรับเทศน์ให้จบใน ๑ วัน ขึ้นใหม่อีกหลายสำนวน ตามเรียกกันว่า"มหาชาติกลอนเทศน์"

ตัวอย่างข้อความบางตอน
ตอนชูชกต่อว่าพระเวสสันดรเมื่อไม่พบสองกุมาร
 โภ เวส์สัน์ดร ดูกรมหาเวสสันดรดาบสผู้ทรงพรตพฤธี นามชื่อว่าฤาษีย่อมทรงสัตว์ ให้ม้วยมุดเป็นบรมรรถไม่มุสา
 นี้มาเสียซึ่งสัจจาไม่จริง เดิมดูนี้เห็นเป็นยวดยิ่ง จะขกยอดพระบารมี มาตรออกปากขอพระชาลีกัณหา ก็ให้โดย
ปรีดาโดยด่วน แล้วเชิญชวนให้ข้าท่าท้วงนาง ครั้นขัดขวาง ก็ยอยกยุให้ไปยังยังพระเจ้าปู่งดงามงงเป็นพะวงพะวัก
แล้วลอบลักดูหน้า ให้คิ้วตาเตือนพระลูกน้อย เธอทำเชิงเฉยเมยเป็นไม่รู้เห็น ตกจะล่วงกันเล่น พบให้เลื่อยฦาฉนี้
ฦาประการใดในโลกนี้ที่จะกล่าวมุสาวาทีเทียมเท่า ถึงพระเวสสันดรเจ้าองค์นี้ก็เป็นว่ามิได้แล้วแล

----------------------------------------------------------------------------------------------

๒.เสือโคคำฉันท์

 ผู้แต่ง พระมหาราชครู สันนิษฐานว่ามีเชื้อสายพราหมณ์เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่สมเด็จพระนารายณ์
มหาราช อาจดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูฝ่ายลูกขุน ณ.ศาลาหลวงหรือพระมหาราช

 ประวัติ สันนิษฐานว่าแต่งก่อนสมุทรโฆษคำฉันท์ โดยนำเค้าเรื่องมาจากปัญญาชาดก

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ แต่มีจำนวนฉันท์และกาพย์น้อยชนิดกว่าสมุทรโฆษคำฉันท์

 ความมุ่งหมาย เพื่อสอนคติธรรม

 เรื่องย่อ เริ่มต้นกล่าวสรรเสริญคุณเทวดา กษัตริย์ และพระรัตนตรัย แล้งดำเนินเรื่องว่าเสือแม่ลูกอ่อนและโคนม
แม่ลูกอ่อนอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งแม่เสือออกไปหาอาหาร ลูกโคสงสารจึงบอกแม่ให้นมแก่ลูกเสือ ลูกเสือและลูก
โคจึงเริ่มรักกันอย่างพี่น้อง แม่เสือสาบานว่าจะไม่ทำลูกโค แต่แม่เสือไม่รักษาคำสัตย์กินแม่โคเสีย ลูกเสือและลูกโค
จึงช่วยกันประหารแม่เสือ แล้วชวนกันไปหากินจนพบพระฤาษีพระฤาษีเมตตาชุบให้เป็นคน ลูกเสือเป็นพี่ได้ชื่อว่า 
พหลวิไชย ลูกโคเป็นน้องชื่อว่าคาวี พระฤาษีอวยพรและมอบพระขรรค์วิเศษให้ ทั้งสองจึงลาฤาษีไปเมืองมคธ 
พระคาวีได้ฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายชาวเมืองนั้นตาย ได้นางสุรสุดา ราชธิดาท้าวมคธ แต่พระคาวีถวายแด่พระพี่ชาย
แล้วออกเดินทางต่อ ไป ต่างฝ่ายต่างเสี่ยงบัวคนละดอก เมื่อไปถึงดมืองร้างเมืองหนึ่งพบกลองใหญ่ตีไม่ดัง ผ่าดูพบ
นางจันทราผู้ผมหอมธิดาท้าวมัทธราชและนางแก้วเกษร แห่งรมนคร ได้ทราบความจากนางว่านกอินทรีย์ใหญ่คู่หนึ่งบิน
มากินชาวเมืองตลอดจนพ่อแม่ นางรอกชีวิตได้ก็เพราะกลองใบนั้น พระคาวีปราบนกอินทรีด้วยพระขรรค์วิเศษและ
ได้นางจันทรเป็นชายา
 วันหนึ่งนางจันทรลงสรงในแม่น้ำ ใส่ผมหอมในอบแล้วลอยน้ำไป ท้าวยศภูมิ ผู้ครองเมืองพันธวิไสยเก็บได้ 
หลงใหลผมหอมนั้น นางทาสีอาสานำนางมาถวาย โดยออกอุบายลวงถามความลับเกี่ยวกับพระขรรค์จากนางจันทร
 ครั้นทราบว่าพระคาวีถอดพระชนม์ไว้ในพระขรรค์ จึงนำพระขรรค์ไปเผาไฟ พระคาวีสลบไป แล้วนางทาสีพา
นางจันทรไปถวายท้าวยศภูมิ  แต่ไม่อาจเข้าใกล้นางได้เพราะร้อนเป็นไฟ ด้วยอำนาจความภักดีที่มีตอพระคาวี
 เมื่อพระพหลวิไชยเห็นบัวอธิฐานเหี่ยวลงเป็นลางร้ายจึงตามหาร่างพระคาวี และพบพระขรรค์ในกองไฟ มาชำระล้าง
วางบนองค์พระคาวี พระคาวีพื้นขึ้นแล้ว พากันออกตามหานาวจันทรถึงเมืองท้าวยศภูมิ พระพหลวิไชยแปลงเป็น
พระฤาษีอาสาชุบท้าวยศภูมิให้เป็นหนุ่มแล้วฆ่าเสียเอาพระคาวีออกมาแทนอ้างว่าชุบตัวเป็นหนุ่มได้สำเร็จ พระคาวีได้
อภิเษกสมรสกับนางจันทรและได้ครองเมืองพันธไสยสืบมา
 เสือโคคำฉันท์เป็นหนังสือประเภทฉันท์เรื่องแรกที่จบสมบูรณ์ ชนิดของฉันท์ที่ใช้แต่งไม่มีมากและโคลงไม่เคร่งครัด
ตามแผนบังคับ นอกจากนี้มีกาพย์ชนิดต่าง ๆ  แต่งอยู่ด้วย ถ้อยคำสำนวนเข้าใจง่ายกว่าสมุทรโฆษคำฉันท์ เรื่องนี้
ได้ต้นเค้ามาจากปัญญาสชาดก แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการกลับมาของบุคคลในเรื่องอย่างชาดก ต่อมาในรัตนโกสินทร
์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องคาวีเรื่งเสือโคคำฉันท์นี้

------------------------------------------------------------------------------------------------

๓.สมุทรโฆษคำฉันท์

 ผู้แต่ง พระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

 ประวัติ สมุทรโฆษคำฉันท์เกิดขึ้นโดยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับสั่งให้พระมหาราชครูแต่ง
ขึ้นเพื่อใช้เล่นหนังใหญ่ ในคราวเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษาครบเบญจเพส เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๙ พระมหาราชครู
แต่งไม่ทันจบก็ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน แต่งไกได้เพียง "พระเสด็จด้วยน้อง ลิลาศ ลุอาศรมอาส นเทพบุตรอัน
บล"เป็นตอนพระสมุทรโฆษ และนางพินทุมดีเสด็จไปแก้บนพระนานายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ต่อมาก็ไม่จบอีก
 ทรงเริ่มต้นตั้งแต่ "พิศพระกุฏีอา ศรมสถานตระการกล"และยุติลงเพียง "ตนกูตายก็จะตายผู้เดี่ยวใครจะดูแล 
โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น "ซึ่งเป็นคำคร่ำครวญของพิทยธรชื่อรณาภิมุข ที่บาดเจ็บเพราะถูกอาวุธของพิทธยาชื่อรณบุตร 
เรื่องนี้จึงค้างอยู่อีกครั้งหนึ้ง ส่วนในตอนจบเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯทรงนิพนธ์เสร็จเมื่อ พ.ศ.
๒๓๘๓ ตามคำอาราธนาของกรมหลวสงไกสรวิชิต และกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเริ่มตั้งแต่ "พิทยาธรทุกข์ลำเค็ญ
 ครวญคร่ำร่ำเข็ญ บรู้กี่ส่ำแสนศัลย์

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยกาพย์และฉันท์ ตอนจบเป็นโคลงสี่สุภาพ ๔ บท

 ความมุ่งหมาย พระราชประสงค์เดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่รับสั่งให้แต่งเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์เพื่อใช้
เล่นหนัง เมื่อครั้งฉลองพระชนมายุครบเบญจเพสการที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ก็เพราะทรง
เสียดายที่หนังสือซึ่งเริ่มต้นแต่งไว้ดีแล้วต้องค้างอยู่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ  ทรงแต่งไว้ให้จบก็เพราะเหตุผลที่ว่า
 " โดยมุมานะหฤทัย อดสูดูไขษย กวีฤาแล้งแหล่งสยาม"

 เรื่องย่อ พระพุทธเจ้าเสวยพระราชเป็นพระสมุทรโฆษ โอรสท้าวพินทุทัต กับนางเทพธิดาแห่งเมืองพรหมบุรี มี
พระชายาทรงพระนามว่า นางสุรสุดา พระสมุทรโฆษตรัสลาพระบิดาพรพระมารดาและพระชายาเสด็จประพาสป่าเพื่อ
คล้องช้าง ขณะพระสมุทรโฆษประทับที่ต้นโพธิ์ ได้ตรัสสดุดีและขอพรเทพารักษ์ แล้วบรรทมหลับไป เทพรารักษ์
ทรงพระเมตตาพาไปอุ้มสมนางพินทุมดี  พระราชธิดาท้าวสีหนรคุปต์กับนางกนกพดี แห่งรมยบุรี จวนสว่างจึงทรงนำ
กลับมาไว้ที่เดิม พระสมุทรโฆษกับนางพินทุมดีทรงครวฯถึงกัน พอดีท้าวสีหนครุปต์ ทรงประกาศพิธีสยุมพรนาง
พิมทุมดี  พระสมุทรโฆษจึงเสด็จเข้าเมืองรมยบุรี พระสมุทรโฆษทรงประลองศรมีชัยในพิธีสยุพร ได้อภิเษกสมรส
กับนางพิมทุมดี
 วันหนึ่งพระสมุทรโฆษเสด็จประพาสสวน ทรงเมตตาพยาบาลรณาภิมุขซึ่งถูกรณบุตรพิทยาธรอีกตนหนึ่งทำร้ายบาด
เจ็บเพราะแย่งนางนารีผลกัน และถูกชิงนางไป รณาภิมูขถวายพระขรรค์วิเศษเป็นการตอบแทน พระสมุทรโฆษทรง
ใช้พระขรรค์นั้นพานางทิมทุมดีเหาะเสด็จประพาสป่าหิมพานต์ ต่อมาพิทยาธรอีกตนหนึ่งลักพระขรรค์ไป พระสมุทร
โฆษทรงพานางเสโจประพาสโดยพระบาทกลับเมือง ทรงข้ามแม่น้ำใหญ่โดยเกาะขอนไม้และเกิดพังกลางแม่น้ำ 
นางพิมทุมดีทรงขึ้นฝั่งได้ นางมณีเมฆขลาและพระอินทร์ช่วยให้พระสมุทรโฆษขึ้นฝั่งและให้พิทยาธรนำพระขรรค์วิเศษ
มาคืน พระสมุทรโฆษทรงตามหานางพิมทุมดีจนพบ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จกลับเมือง และได้รับเวนราชสมยัติ 
 สมุทรโฆษคำฉันท์ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ว่า เป็นยอดแห่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ 
ทั้งนี้นอกจากความไพเราะเพราะพริ้งของฉันท์แต่ละบทแล้ว ยังประกอบด้วยรสวรรณคดีครบถ้วน เช่น บทโคลงลา
นาง บทรำพันสวาท บาสังวาส บทรบ บทโศก บทชมบ้านเมือง บทชมธรรมชาติ บทชมกระบวนทัพ และแทรก
คติธรรมไว้ด้วย เช่น ความรักอันมั่งคง ความเมตตากรุณา และความเพียร เป็นต้น สมุทรโฆษคำฉันท์มีประวัติ
ความเป็นมาน่าอัศจรรย์นัก ที่ต้องใช้กวีแต่งต่อเนื่องกัน ๓ ท่าน และใช้เวลาถึง ๓ แผ่นดิน คือ ตั้งแต่ 
กรุงศรีอยุธยา มาเสร็จลงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กวีทั้งสามไม่ได้ร่วมแต่งพร้อมกัน แต่งต่อช่วงกัน แต่สามารถรักษา
ระดับรสกวีนิพนธ์ไว้เท่าเทียนและกลมกลืนกันไว้สนิท
 สมุทรโฆษคำฉันท์ดำเนินเรื่องตามสมุทรโฆษชาดก ซึ่งเป็นชาดกทางพุทธศาสนาเรื่องหนึ่ง ในปัญญาสชาดก(ชาดก
 ๕๐ เรื่อง )ตอนที่พระมหาราชครู และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงแต่งมีเรื่องแทรกผิดแผกไปจากชาดกบ้าง 
เช่น กำหนดให้พระสมุทรโฆษมีชายา คือ นางสุรสุดาอยู่ก่อนจึงไปหานางพิมทุมดี บทอุ้มสม และสงครามชิงนาง
พิมทุมดี เหตุการณ์กล่าวไม่ปรากฏในชาดก ส่วนที่สมเด็จพระมาสมณเจ้าฯทรงนิพนธ์เป็นไปตามชาดกอย่างใกล้ชิด
 ในด้านภาษาเป็นที่เป็นของพระมหาสมณเจ้าฯ ใช้คำบาลีมากว่าคำสันสกฤต

 วรรณคดีเรื่องนีแสดงให้เห็นว่าเล่นหนังใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยธยา ไม่จำกัดต้องเล่นเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์อย่างสมัย
ต่อมา นอกจากนี้ก่อนเริ่มเรื่องหนัง ยังมีการเล่นเบิงโรงต่าง ๆ เช่น หัวล้านชนกัน 
-------------------------------------------------------------------------------------------

๔.โคลงพาลีสอนน้อง

 ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 ทำนองแต่ง ใช้โคลงสี่สุภาพ มีโคลงทั้งหมด ๓๒ บท

 ความมุ่งหมาย เพื่อใช้เรื่องรามเกียรติ์เปรียบเทียบในการอบรมสั่งสอนข้าราชการ

 เรื่องย่อ เริ่มเรื่องว่า พาลีเจ้าเมืองขีดเขิน เมื่อใกล้จะถึงความตายด้วยศรของพระราม เกิดสำนึกผิดในความประพฤติที่แล้วมาของตน ได้เรียกสุครีพน้องร่วมมารดาและองคตลูกชายมาสั่งสอนข้อปฏิบัติในการที่จะรับราชการอยู่กับพระราม

 โคลงพาลีสอนน้อง แสดงค่านิยมของสังคมไทยในเวลานั้น และแสดงอิทธิพลของเรื่องรามยณธหรือรามเกียรติ์ที่มีต่อสังคมไทยอีกด้วย

------------------------------------------------------------------------------------------------

๕.โคลงทศรถสอนพระราม

 ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 ทำนองแต่ง โคลงสื่สุภาพ

 เรื่องย่อ เริ่มต้นกล่าวถึง ท้าวทศรถตรัสเรียกพระรามมาพระราชทานโอวาท เมื่อจะทรงมอบบ้านเมืองให้ครอง มี
สาระสำคัญเกี่ยวเมตตา กรุณา อกุศลมูล ได้แก่ โทสะ โมหะ โลภะ อวิหิงสา และขันติ เป็นต้น
 โคลงทศรถสอนพระรามใช้คำศัพท์และโวหารใหม่กว่าวรรณคดี ซึ่งแต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น
เดียวกับโคลงพาลีสอนน้อง โคลงเรื่องนี้แสดงให้เห็นความนิยมเรื่องรามเกียรติ์เหมือนโคลงพาลีสอนน้อง

------------------------------------------------------------------------------------------------

๖.โคลงราชสวัสดิ์

 ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 ทำนองแต่ง  เป็นโคลงสี่สุภาพ มีทั้งหมด ๖๓ บท

 ความมุ่งหมาย เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติตนของข้าราชการผู้ใหญ่

 เรื่องย่อ มีใจความสอนข้อปฏิบัติแก่ข้าราชการ

 โคลงราชสวัสดิ์มีเนื้อความคล้ายกับโคลงพาลีสอนน้อง แต่ละเอียดพิสดาร มีส่วนดีในด้านคติธรรม สอนความ
ประพฤติ

------------------------------------------------------------------------------------------------

๗.จินดามณี

 ผู้แต่ง พระโหราธบดี รับราชการในหน้าที่โหรหลวงอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตำนานศรีปราชญ์ที่พระนาปริยัติธรรมธาดา 
แต่งกล่าวพระโหราธิบดีเป็นบิดาของศรีปราชญ์ สันนิษฐานว่าอาจถึงกรรมก่อน พ.ศ.๒๒๒๓ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระ
นารายณ์มหาราชรับสั่งให้รวบรวมชำระกฎหมายเหตุ ซึ่งท่านแต่งไว้เข้ากับฉบับอื่น ๆ เรียกชื่อต่อมาว่า "พระราช
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ"

 ประวัติ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพวกมิชชั่นนารีฝรั่งกำลังเข้าเผยแพร่ศาสนาคริสต์และวิชาการอย่างฝั่ง
 จนถึงการตั้งโรงเรียนสอนเด็กไทย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเกรงว่าคนไทยจะหันไปนิยมอย่างฝรั่ง จึงรับสั่งให้
พระโหราธิบดีแต่งจินดามณีขึ้นเพื่อจะสอนคนไทยมีแบบเรียนเป็นของตนเอง และรู้วิชาอย่างไทย ๆ ไม่หันแหไป
ฝักใฝ่ข้างฝรั่ง

 ทำนองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว บางตอนเป็นคำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ 

 ความมุ่งหมาย เพื่อใช้เป็นแบบเรียนอ่านให้มีความรู้ทางหลักภาษาแลการแต่งคำประพันธ์

 เรื่องย่อ ต้อนต้นกล่าวถึงคำและข้อความสำหรับอ่าน เป็นความรู้ทางหลักภาษา ตอนท้ายเป็นกฎเกณฑ์การแต่ง
คำประพันธ์ และตัวอย่างคำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ 

 ตัวอย่างข้อความบางตอน
การแต่งฉันท์
 หมู่ใดในคณะ   เปนคู่อย่าละ   กาพย์โคลงโวหาร
บทฉันทใดฉงน  สืบถามอย่านาน จู่ลู่ใช่การ ลิกขิตเกี้ยวพันธ์
 บทหนึ่งวสันตดิลก  คู่ฉันทโตฎก   กาพย์มังกรพันธ์
บทอินทรวิเชียร  คู่อาริยฉันท ผูกไว้ทุกสรรพ์  ทุกพรรรณเกี้ยวการณ์
การแต่งโคลง
 อนึ่งเมื่อจทำโคลงสิ่งใดที่ให้เอาคติโคลงนั้น มาเทียบด้วยฉันท์ ให้รู้จักพากยทังหลาย คือ ตลุมพุธพากย 
กำภุพากย์ สยามพากย สิงหลพากย ภุกามพากย หริภุญไชยพากย ตเลงพากย มคธพากย ได้เอาศัพท
ทังหลายนี้ประกอบประโหยกหน้า หลัง จึงต้งงให้อยู่ภาวรเป็นประถมบท ทวิบทตฤติยบท ในบทนั้นโสดต้งงใน
อยู่สถารอักษรนั้น 

 จินดามณีเป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก สำนวนภาษาที่เข้าใจได้ยาก มีคำอธิบายเพียงสั้น ๆ แต่ก็นับว่ามี
ความสำคัญต่อการศึกษาภาษาไทยเป็นเวลาช้านาน ได้ใช้เป็นหนังสือเรียนมาจนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ แห่ง
กรุงรัตนโกสินทร์ ถึงแม้ต่อมาจะมีแบบเรียนเรื่อง ๆ เกิดขึ้น เช่น จินดามร๊สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 
จินดามณีของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ในรัชการที่ ๓ และมูลบทบรรพกิจในรัชการที่ ๕ ล้วนได้แนวคิดใน
การแต่งไปจากจินดามณีของพระโหราธิปดีทั้งสิ้น ภาคที่ว่าด้วยฉันท์ลักษณ์ ได้ยกตัวอย่างมาจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาก่อน ทำให้ทราบอายุของวรรณคดีเรื่องนั้น ๆ ว่าแต่งก่อนจินดามณี เช่น ยกกาพย์ยานีมาจากมหาชาติคำหลวง แต่ใช้แตกต่างกันไปบ้าง ดังนี้
 จินดามณี
 ครั้นเช้าก็หิ้วเช้า  ชายป่าเต้าไปตามชาย
ลูกไม้จึ่งครันงาย   จำงายราชอดยืน
 เปนใดจึงมาค่ำ  อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน
เห็นกูนี้โหดหืน   มาดูแคลนนี้เพื่อใด
 มหาชาติคำหลวง
คร้นนเช้ากหืวกนนเช้า  ชายป่าเต้าไปหาชาย
ลูกไม้บทนนงาย   จำงายราชอดยืน  เเม่ฮา
 คิดใดคืนมาค่ำ  อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน
เพราะเห็นกูดหดหืน   เเลดูเเคลนกูกลใด  ด่งงนี้
เเละยกโคลงจากลิลิตพระลอมาประกอบคำอธิบายการเเต่งโคลงสี่สุภาพ คือ
 เสียงฦาเสีองเล่าอ้าง  อันใดพี่เอย
เสีองย่อมยอยศใคร   ทั่วหล้า
 สองเขือพี่หลับใหล  ลืมตืนฦาพี่
สองพี่คิดเองอ้า   อย่าได้ถามเผือ

--------------------------------------------------------------------------------------------

๘.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา(ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ)

           ผู้เเต่ง พระโหราธิบดี
           
           ประวัติ    พระยาปริยัติธรรมธาดา(แพ ตาละลักษณ์)เมื่อครั้งเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติได้ต้น
ฉบับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เป็นสมุดไทยตัวเขียนเก่ากึงสมัยกรุงศรีอยุธยา มาจากบ้านราษฏรแห่งหนึ่งที่จังหวัด
เพรชบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ ได้นำขึ้นถงายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ จึงทรงเรียก
พงศาวดารนี้ว่า "พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ"เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ไปพบ 

พงศาวดารฉบับนี้เรียบเรียง เมื่อ จ.ศ.๑๐๔๒ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
           
            ทำนองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว ลำดับศักราชและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคลายบันทึกโหร
ความมุ่งหมาย เรียบเรียงโดยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อรวบรวมจดหมายเหตุในที่ต่าง ๆ
 และพระราชพงศาวดารเข้าด้วยกันตามลำดับศักราช
เรื่องย่อ เริ่มต้นเป็นบานแผนก บอกปีที่เรียบเรียง ผู้รับสั่งให้เรียบเรียง ตลอดจนความมุ่งหมายแล้วกล่าวถึงเหตุการณ์
ตั้งแต่  "จ.ศ. ๖๘๖ ชวดศก แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าพแนงเชิง" ซึ่งเป็นปีที่สร้างพระพุทธรูปวัดพนัญเชิง จนถึง
จ.ศ.๙๖๕๖ มะโรงศกวันเสด็จพยุหยาตรา จากป่าโมก โดยทางชลมารค และฟันไม่ข่มนามตำบลเอกราช ตั้งทัพ
ไชยตำลบพระหล่อ วันนั้นเป็นวันอนุและเป็นวันสงกรานต์ พระเสาร์ไปราศีธนูอนองษาหนึ่ง ครั้งนั้นเสด็จพระราช
ดำเนินถึงเมืองหลวงตำลบทุ่งแก้ว  ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนเรศรวมหาราชทรงยกทัพไปตีพม่าและสวรรคตทีเมืองห้าง
พลาง

โคลงหริภุญชัย



๗.โคลงหริภุญชัย

 ผู้แต่งสันนิษฐานทีผู้แต่งคนหนึ่ง อาจชื่อทิพแต่งไว้เป็นภาษาไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดออกมาเป็นภาษาไทยกลาง
อีกตอนหนึ่ง

 ประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่าอาจเป็นประมาน พ.ศ.๒๑๘๐
 หรือก่อนหน้านั้นขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะที่พระพุทธสิหิงค์ยังประดิษฐานอยู่ที่เชียงใหม่ราวศักราชสมเด็จพระเจ้าปราสาท
ทอง และกวีทางใต้คงนำมาดัดแปลงราวศักราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร 
ได้ศึกษาโคลงเรื่องนี้โดยเทียบกับต้นฉบับภาษาไทยเหนือที่เชียงใหม่และลงความว่าจะแต่งขึ้นในสมัย พ.ศ.๒๐๖๐ 
ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเวลาที่พระแก้วมรกตยังอยู่ที่เจดีย์เชียงใหม่ เนื่องจากนิราศเรื่องนี้
ี้กล่าวถึงพระแก้วมรกตไว้ด้วย

 ทำนองแต่ง เดิมแต่งไว้เป็นโคลงไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดเป็นโคลงสุภาพ

  ความมุ่งหมาย ผู้แต่งมีความมุ่งหมายเพื่อบรรยายความรู้สึกที่ต้องจากหญิงรักไปนมัสการพระธาตุหริภญชัย ที่เมือง
หริภุญชัย(ลำพูน)ก่อนออกเดินทางไปนมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ขอพระพระมังราชหรือ พระมังรายซึ่งสถิต ณ ศาลา
เทพารักษ์ นมัสการลาพระแก้วมรกต เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใดก็พรรณาคร่ำครวญรำพันรักไปตลอด จนถึง
เมืองหริภุญชัยได้นมัสการพระธาตุ สมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งานสมโภชพระธาตุ ตอนสุดท้ายลาพระธาตุกลับ
เชียงใหม่

 นอกจากนี้วรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานยืนยันถึงที่ตั้งปูชนียสถาน และโบราณวัตถุที่เชียงใหม่และลำพูน กล่าวถึง
การเล่นมหรสพต่างๆ ในสมัยโบราณ และวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น สุธนู สมุทรโฆษ  พระรถเมรี เป็นต้น
 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญขอ งโคลงหริภุญชัย ไว้ใน
ฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๔๖๗ ว่า "อาจเป็นต้นแบบอย่างของนิราศที่แต่งเป็นโคลงและกลอนกันในกรุงศรีอยุธยาตลอดมา
จนกรุงรัตนโกสินทร์ ถ้ามิได้เป็นแบบอย่างก็เป็นนิราศชั้นเก่าที่สุด"

ป้ายกำกับ:

โคลงทวาทศมาส



๖.โคลงทวาทศมาส

 ผู้แต่ง พระเยาวราช ขุนพรมมนตรี ขุนกวีราช ขุนสารประเสริฐ

 ประวัติ หนังสือนี้มีการสันนิษฐานผู้แต่งต่างกันไป เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
ทรงสันนิษฐานว่าผู้แต่ง คือ ขุนศรีกวีราช ขุนพรหมมนตรี และขุนสารประเสริฐ บางท่านว่า พระเยาวราช 
ทรงนิพนธ์ ที่เหลือช่วยแก้ไข ส่วนพระยาตรังคภูมิบาล และนายนรินทรธิเบศร กล่าวแต่เพียงสามคนร่วมกันแต่ง

 ทำนองแต่ง โคลงดั้นวิริธมาลี

 ความมุ่งหมาย มีผู้สันนิษฐานว่าคงแต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน มิได้จากนางจริงโดยสมมติเหตุการณ์
ขึ้น

 เรื่องย่อ โคลงเรื่องนี้ได้ชื่อว่าทวาทศมาส เพราะพรรณนาถึงความรักความอาลัยรัก และพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบ
สิบเดือน ทวาทศมาสแปลว่าสิบสองเดือน ตอนต้นสรรเสริญเทพเจ้า และพระเจ้าแผ่นดิน ชมความงามของนางที่ต้อง
จากมา กล่าวถึงบุคคลในวรรณคดี เช่น พระอนิรุทธ์ พระสมุทรโฆษ พระสุธนู พระสูตรธนู แล้วแสดงความน้อยใจ
ที่ตนไม่อาจไปอยู่ร่วมกับนางอีกอย่างบุคคลเหล่านั้น ตอนต่อไปนำเหตุการณ์ต่าง ๆ และลมฟ้าอากาศในรอบปีหนึ่งๆ 
ตั้งแต่เดือน ๕ ถึง เดือน ๔ มาพรรณนา เดือนใดมีพิธีอะไรก็นำมากล่าวไว้ละเอียดละออ เช่น เดือนสิบเอ็ดมีพิธี
อาศวยุช เดือนสิบสองมีพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป เดือนยี่ประกอบพิธีตรียัมปวาย และเดือนสี่กระทำพิธีตรุษ 
เป็นต้น ต่อจากนั้นถามข่าวคราวของนางจาก ปี เดือน วัน และยาม ขอพระเทพเจ้าให้ได้พบนาง ตอนสุดท้ายกล่าว
สรรเสริญพระบารมีพระเจ้าแผ่นดิน

  วรรณคดีเรื่องนี้ นอกจากประกอบด้วยรสกวีนิพนธ์ดังกล่าวมาแล้ว ยังให้ความรู้เกี่ยวกับขนบประเพณี และสภาพ
ความเป็นอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างละเอียดแจ่มแจ้ง โดยบรรยายสภาพดินฟ้าอากาศและกิจพิธีต่าง ๆ ในแต่ละ
เดือน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น รามเกียรติ์ อนิรุทธ์ สมุทรโฆษ สุธน สูธนู เป็นต้น

---------------------------------------------------------------------------------------------

ป้ายกำกับ:

โึคลงกำสรวล



๕.โคลงกำสรวล

 ผู้แต่ง เคยเชื่อกันมาแต่เดิมว่าศีปราชญ์ผู้แต่งโคลงกำสรวลถูกเนรเทศไปนครศรีธรรมราช ในรัชกาลสมเด็จพระ
นารายณ์มหาราช และหญิงที่ศรีปราชญ์คร่ำครวญอาลัย คือ พระสนมศรีจุฬาลักษณ์ แต่มีผู้ออกความเห็นค้าน
ความเชื่อดังกล่าวว่าเรื่องโคลงกำสรวล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวถึงเส้นทางการเดินทางจาก
กรุงศรีอยุธยาไปสุดแค่จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ทั้งไม่ได้กล่าวถึงความทุกข์ร้อนและมูลที่ต้องเนรเทศ เมื่อพิจารณา
ถึงลักษณะคำประพันธ์และถ้อยคำสำนวนภาษาที่ใช้โคลงกำสรวลน่าจะแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยโคลงตั้งบาทกุญชร บทแรกเป็นร่ายดั้น มีร่าย ๑ บท โคลงดั้น ๑๒๙ บท

 ความมุ่งหมาย เพื่อแสดงความอาลัยคนรัก ซึ่งผู้แต่งต้องจากไป

 เรื่องย่อ เริ่มด้วยร่ายสดุดีกรุงศรีอยุธยาว่ารุ่งเรืองงดงาม เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา ราษฎร์สมบูรณ์พูนสุข 
ต่อจากนั้นกล่าวถึงการที่ต้องจากนาง แสดงความห่วงใย ไม่แน่ใจว่าควรจะฝากนางไว้กับผู้ใดเดินทางผ่านตำบลหนึ่ง ๆ ก็รำพันเปรียบเทียบชื่อตำบลเข้ากับความอาลัยที่มีต่อนาง ตำลบที่ผ่าน เช่น บางกะจะ เกาะเรียน ด่านขนอน บางทรนาง บางขดาน ย่านขวาง ราชคราม ทุ่งพญาเมือง ละเท เชิงราก  นอกจากนี้ได้นำบุคคลในวรรณคดีมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตของตน เกิดความทุกข์ระทมที่ยังไม่พบได้นางอีกอย่างบุคคลในวรรณคดีเหล่านั้น โดยกล่าวถึง พระรามกับนางสีดา พระสูตรธนู(สุธนู)กับนางจิราประภา และพระสมุทรโฆษกกับนางพิษทุมดีว่าต่างได้อยู่ร่วมกันอีก ภายหลังที่ต้องจากกันชั่วเวลาหนึ่ง การพรรณนาสถานที่สิ้นสุดลงโดยที่ไม่ถึงนครศรีธรรมราช

 ตัวอย่างข้อความบางตอน
ชมเมือง
 อยุธยายศยิ่งฟ้า  ลงดิน แลฤา
อำนาจบุญเพรงพระ   ก่อเกื้อ
เจดียลอออินทร   ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ   นอกโสม
 พรายพรายพระธาตุเจ้า  จยนจันทร์ แจ่มแฮ
ไตรโลกยเลงคือโคม   ค่ำเช้า
พิหารรบยงบรรพ   รุจิเรข เรืองเฮ
ทุกแห่งห้องพระเจ้า   น่งงเนือง

ฝากนาง
 โฉมแม่จกฝากน่านน้ำ  อรรณพ แลฤา
อินทรท่านทอดโฉมเอา   สู่ฟ้า
โฉมแม่จกฝากดิน   ดินท่าน แล้วแฮ
ดินฤาขดดเจ้าเหล้า   สู่สํสองสํ
 โฮมแม่ฝากน่านน้ำ  อรรณพ แลฤา
ยยวนาคเชอยชํอก   พี่ไหม้
โฉมแม่รำพึงจบ   ไตรโลก
โฉมแม่ใครสงวนได้   เท่าเจ้าสงวนเอง

 โคลงกำสรวลเป็นงานนิพนธ์เรื่องเอกของศรีปราชญ์ มีคุนค่าทางวรรณคดีอย่างยอดเยียมถ้อยคำสำนวนโวหาร
ที่คมคายจับใจ แสดงความเป็นต้นคิดหลายตอน ทำให้กวีรุ่นหลังพากันเลียมแบบอย่าง เช่น ตอนชนเมือง และ
ตอนฝากนาง นอกจากนี้ยังให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ บางเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ สมุทรโฆษ ในด้าน
ภาษา โคลงกำสรวลใช้คำที่เป็นภาษาโบราณ ภาษาถิ่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรอยู่มาก

 โคลงกำสรวลแสดงให้เห็นความวิจิตตระการของปราสาทราชวัง และวัดวาอารามของกรุงศรีอยุธยา ความเป็นอยู่
ของประชาชนในด้านการแต่งกาย อาหารการกิน การเล่นรื่นเริง และสภาพภูมิศาสตร์เส้นทางการเดินทางของกวี

---------------------------------------------------------------------------------------------

ลิลิตพระลอ



๔.ลิลิตพระลอ

 ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เพื่อพิจารณาจากร่ายบทนำเรี่อง ซึ่งกล่าวสดุดีพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ที่ทรงมีชัยแก่
ชาวลานนาที่ว่า "ฝ่ายช้างยวนแพ้พ่าย ฝ่ายช้างลาวประลัย ฝ่ายช้างไทยชัเยศคืนยังประเทศพิศาล"พอสันนิษฐาน
ได้ว่าช่วงเวลาที่แต่งลิลิตพระลอ จะต้องอยู่ภายหลังการชนะศึกเชียงใหม่ครั้งใดครั้งหนึ่ง อาจเป็นรัชกาลสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๒๐๑๗)หรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๒๐๕)

 เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์ ลิลิตพระลอแต่งด้วนลิลิต ซึ่งเป็นลักษณะคำประพันธ์ที่นิยมใช้ในสมัยกรุงศรี
อยุธยาตอนต้น เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย ส่วนในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมักแต่งโคลง
ฉันท์เป็นส่วนมาก เช่น โคลงเฉลิมพระเกีรยติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมุทรโฆษคำฉันท์ และอนิรุทธ์คำฉันท์
 ลิลิตพระลอยังใช้ภาษาเก่ากว่าภาษาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น คำ "ชิ่นแล"และคำ "แว่น"ซึ่งเป็น
คำทีมีใช้ในมหาชาติคำหลวงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นอกจากนี้หนังสือจินดามณี ของพระโหราธิบดี สมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ยกโทคลงในลิลิตพระลอเป็นตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่ว่า
 เสียงฦาเสียงเล่าอ้าง  อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร   ทั่วหล้า
สองขือพี่หลับใหล   ลืมตื่น ฦาพี่
สองพี่คิดเองอ้า   อย่าได้ถามเผือ

 จากเหตุผลดังกล่าวพอสรูปได้ว่า ลิลิตพระลอ จะต้องแต่งก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพิจารณาโคลงบอกผู้แต่ง สองบทท้ายเรื่องที่ขึ้นต้นว่า "จบเสร็จมหาราช
เจ้า นิพนธ์"และ "จบเสร็จเยาวราชบรรจง"ทรงสันนิษฐานว่าลิลิตพระลออาจแต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน ในขณะที่
ผู้แต่งยังเป็นพระมหาอุปราช ต่อมาพระมหาอุปราชพระองค์นั้นได้รับรัชทายาทเป็นพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตอนต้น อาจเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิปดีที่ ๓ สมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ หรือ สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
ก็ได้

 ส่วนเหตุผลที่ว่า ลิลิตพระลอแต่งในสมัยพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากสันนิษฐานคำ "มหาราชเจ้านิพนธ์"และ
"สมเด็จเยาวเจ้าบรรจง"ในโคลงสองบทดังกล่าวว่า หมายถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ และ
เจ้าฟ้าอภัยทศพระราชอนุชาทรงเขียน
 
              ทำนองแต่ง เป็นคำประพันธ์ประเภทลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพเป็นส่วน
ใหญ่ บางโคลงมีลักษณะคล้ายโคลงดั้นและโคลงโบราณ และร่ายบางบทเป็นร่ายโบราณและร่ายดั้น

 ความมุ่งหมาย แต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อให้เป็นที่สำราญหฤทัย

 เรื่องย่อ เมืองสรวงและเมืองสรองเป็นศัตรูกัน พระลอกษัตริย์เมืองสรวงทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก จนเป็นที่ต้องพระทัย
พระเพื่อนพระแพงราชธิดาของท้าวพิชัยพิษณุกรกษัตริย์แห่งเมืองสรอง นางรื่นนางโรยพระพี่เลี้ยงได้ขอให้ปูเจ้าสมิง
พรายช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอเสด็จมาเมืองสรวง เมื่อพระลอต้องเสน่ห์ได้ตรัสลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และ
นางลักษณวดีมเหสี เสด็จไปเมืองสรองพร้อมกับนายแก้งนางขวัญพระพี่เลี้ยง
 พระลอทรงเสี่ยวน้ำที่แม่น้ำกาหลง ถึงแม้จะปรากฏรางร้ายก็ทรงผืนพระทัยเสด็จต่อไป ไก่ผีของปูเจ้าสมิงพรายล่อ
พระลอกับนายขวัญและนายแก้วไปจนถึงสวนหลวง นางรื่นนางโรยออกอุบายลอบนำพระลอกับนายแก้วและนายขวัญ
ไปไว้ในตำหนักของพระเพื่อนพระแพง
 ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงทราบเรื่องก็ทรงพระเมตตารับสั่งจะจัดการอภิเษกพระลอกับพระเพื่อนและพระแพงให้ แต่พระ
เจ้าย่าเลี้ยงของพระเพื่อนพระแพงยังทรงพยาบาลพระลอ อ้างรับสั่งท้าวพิชัยพิษณุกรตรัสสั่งใช้ให้ทหารไปรุมจับ
พระลอ พระเพื่อนพระอพงและพระพี่เลี้ยงทั้งสี่ช่วยกันต่อสู้จนสิ้นชีวิตทั้งหมดท้าวพิชัยพิษณุกรทรงพระพิโรธพระเจ้า
ย่าและทหาร รับสั่งให้ประหารชีวิตทุกคน พระนางบุญเหลือทรงส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์สาม ในที่สุดเมือง
สรวงและเมืองสรองกัลเป็นไมตรีต่อกัน

 ตัวอย่างข้อความบางตอน

บทโศก
๑.พระนางบุญเหลือทรงรำพันเมื่อพระลอทูลลาเไปมืองสรอง
 คงชีพหวังได้พึ่ง   ภูมี พ่อแล
ม้วยชีพหวังฝากผี   พ่อได้
ดังฤาพ่อจักลี-   ลาจาก อกนา
ผีแม่ตายจักได้   ฝากให้ใครเผา

๒.ข้าราชการและประชาชนราษฎร์คร่ำครวญตอนพระลอลาจากเมือง
 เสียงโหยเสียงไห้มี  เรือนหลวง
ขุนหมื่นมนตรีปวง   ป่วยช้ำ
เรือนราษฎณ์ร่ำตีทรวง   ทุกข์ทั่ว กันนา
เมืองจะเย็นเป็นน้ำ   ย่อมน้ำตาครวญ

บทพรรณนาความรัก
๑.ระหว่างชู้คู่ครอง คู่ครองกับแม่ พระลอคร่ำครวญที่แม่น้ำกาหลง
 ร้อยชู้ฤาเท่าเนื้อ  เมียตน
เมียแล่พันฤาดล   แม่ได้
ทรงครรภ์คลอดเป็นคน   ฤาง่า เลยนา
เลียงยากนักท้าวไท้   ธิราชผู้มีคุณ

๒.ชู้รัก พระลอตรัสต่อพระเพื่อนพระแพง
 เมืองกว้างช้างม้าซู่  ละเสีย อ่อนเอย
เสียแม่เสียเมียมา   สู้น้อง
เสียสนมดุจดวงพเยีย   งามแง่ งามนา
มาแต่ตัวเข้าข้าง   ข่ายท้าวทั้งสอง
 พี่พบน้องเพี้ยงแต่  ยามเดียว
คือเชือกผสมสามเกลียง   แฝดฝั้น
ดั่งฤาจะพลันเหลียว   คืนจาก เรียมนา
เจ้าจากเรียมจักกลั้น   สวามกลั้นใจตาย

คติธรรม
๑.พระลอตรัสต่อพระนางบุญเหลือตอนที่เสด็จออกจากเมือง
 ใดใดในโลกล้วน  อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง   เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง   ตรึงแน่น อยู่นา
ตามแต่บุญบาปแล้   ก่อเกื้อรักษา

๒.นายแก้วนายขวัญกราบทูลเตือนพระสติแก่พระลอ ตอนเสด็จมาถึงชนบททอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศอันทุรกันดาร
 พระเอยอาบน้ำขุ่น  เอาเย็น
ปลารผอกหมกเหม็นยาม                  ยากเคี้ยว
รุกรุยราคจำเป็น   ปางเมื่อ แคลนา
อดอยู่เยี่ยวดิ้วเดี่ยว   อยู่ได้ฉันใด
 ยามไร้เด็ดดอกหญ้า  แซมผม พระเอย
หอมบ่หอมทัดดม   ดั่งบ้า
สุกรมลำดวนชม   เชยกลิ่น พระเอย
หอมกลิ่นเรียมโอ้อ้า   กลิ่นแก้วติดใจ

๓. นายแก้วนายขวัญนางรื่นนางโรยกล่าวเตือนสติต่อกัน เพื่ออดใจไม่แสดงความรักต่อกันในตำหนับของพระเพื่อน
พระแพง เป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อเจ้านายและสถานทที่สำคัญในตำหนักพระเพื่อนพระแพง 
เป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อเจ้านายและสถานที่สำคัญ
 เรานี้เราเผ่าผู้  ภักดี
ผิดเท่าธุลีกลัว   เกลียดใกล้
ผิผิดกึ่งเกศี                   แหน่งว่า ตายนา
ดีกว่าเป็นคนให้   ท่านชี้หลังตน

 วรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ตัดสินให้ลิลิตพระลอเป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทลิลิตวรรณคดีเรื่องนี้มี
ลักษณะเด่นหลายประการ โคลงเรื่องประกอบด้วยเหตุการณ์ที่ตื่นเต้น สะเทือนใจตลอด มีตอนรัก ตอนสยดสยอง
การใช้ถ้อยคำและโวหารนับว่าคมคายยิ่งนัก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา

 ลิลิตพระลอได้เค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมือง แสดงถึงสภาพความเป็นไปของสังคมในเวลานั้นอย่างเด่นหลายประการ
ในด้านการปกครองแสดงให้เห็นการปกครองแบบนครัฐ คือ เมือง เล็ก ๆ ตั้งเป็นอิสระแก่กัน อันเป็นลักษณะที่
ปรากฏทั่วไปก่อนสมัยสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้
เรื่องพระลอยังเป็นตัวอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครอง
ประเทศตกอยู่แก่ประมูขผู้เดียวเกี่ยวกับลัทธความเชื่อของสังคมก็ปรากฏเด่นชัดในด้านภูตผีปีศาจ เสน่ห์ยาแฝดโชค
ลาง ความฝัน และความชื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินพระพี่เลี้ยงทั้ง ๔ ดังปรากฏในสุภาษิตพระร่วง ที่ว่า 
"อาสาเจ้าจนตัวตาย"สภาพสังคมทั่วไปที่เห็นได้จากวรรณคดีเรื่องนี้ได้แก่ การใช้ช้างทำสงครามและเป็นพาหนะ 
ความนิยมและขับร้อง และการบรรจุพระศพกษัตริย์ลงโลงทองแทนพระโกศอย่างในสมัยหลัง
 
               ลิลิตพระลอเป็นที่นิยมยกย่องมาช้านาน เช่น พระโหราธิบดีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ยก
โคลงที่แต่งถูกแผนบังคับและมีความไพเราะจับใจอันเป็นคำของพระเพื่อนพระแพงตรัสแก่พระพี่เลี้ยงไปไว้เป็นแบบ
อย่างโคลงสี่สุภาพในหนังสือจินดามณี โคลงดังกล่าวคือ
 เสียงฦาเสียงเล่าอ้าง  อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร   ทั่วหล้า
สองขือพี่หลับใหล   ลืมตื่น ฦาพี่
สองพี่คิดเองอ้า   อย่าได้ถามเผือ
 
                  ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีแบบฉบับ คือ เป็นแบบครูที่วรรณคดีในสมัยหลังนิยมเลียน
อย่างในการพรรณนาและบรรยายขยายความ เช่น ลิลิตเพชรมุฏ และลิลิตตะเลงพ่าย

ป้ายกำกับ:

ลิลิตยวนพ่าย




๓.ลิลิตยวนพ่าย

 ผู้แต่ง ไม่ปรากฏ

 ประวัติ สันนิษฐานแต่งในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราว พ.ศ.๒๐๑๗ ซึ่งเป็นปีเสด็จศึกเชียงชื่น แต่
ความเห็นอีกประการหนึ่งว่า แต่งในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ (พ.ศ.๒๐๓๔ - ๒๐๗๒)

 เหตุที่ว่าลิลิตยวนพ่าย อาจแต่งในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ ก็เนื่องด้วยพระมหากษัตริย์พระองค์นี้เป็น
พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และทรงพระปรีชาสามารถทุนะบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองรอย
พระราชบิดาก็เป็นได้
 คำว่า "ยวน"ในลิลิตเรื่องนี้หมายถึง "ชาวลานนา"คำ "ยวนพ่าย"หมายถึง "ชาวล้านาแพ้"เนื้อเรื่องของลิลิตยวน
พ่ายกล่าวชาวลานนาในสมัยพระเจ้าติโลกราช ซึ่งพ่ายแพ้แก่กรุงศรีอยุธยาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

 ทำนองแต่ง แต่งเป็นลิลิตดั้น ประกอบด้วยร่ายดั้นโคลงดั้นบาทกุญชร ร่ายดั้น ๒ บท และโคลงดั้นบทกุญชร 
๓๖๕ บท

 ความมุ่งหมาย เพื่อยอพระเกียรติของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสดุดีชัยชนะที่มีต่อเชียงใหม่ในรัชกาลนั้น

 เรื่องย่อ ตอนต้นกล่าวนมัสการพระพุทธเจ้าและนำหัวข้อธรรมมาแจกแจงทำนองยกย่องสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ว่า ทรงคุณธรรมข้อนั้น ๆ กล่าวถึงพระราชประวัติ ตั้งแต่ประสูติจนได้ราชสมบัติ ต่อมาเจ้าเมืองเชียงชื่น(เชลียง)
เอาใจออกหาง นำทัพเชียงใหม่มาตีเมืองชัยนาท แต่ถูกสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถตีแตกกลับไป และยึดเมือง
สุโขทัยคืนมาได้ แล้วประทับอยู่เมืองพิษณุโลก เสด็จออกบวชชั่วระยะหนึ่ง ต่อจากนั้นกล่าวถึงการทำสงครามกับ
เชียงใหม่อย่างละเอียดครั้งหนึ่ง แล้วบรรยายเหตุการณ์ทางเชียงใหม่ ว่าพระเจ้าติโลกราชเสียพระจริต ประหารชีวิต
หนานบุญเรืองราชบุตร และหมื่นดังนครเจ้าเมืองเชียงชื่น ภรรยาหมื่นดังนครไม่พอใจ ลอยมีสารมาพึ่งพระบรมโพธ
ิสมภารของสมเด็จสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและขอกองทัพไปช่วย พระเจ้าติโลกราชทรงยอทัพมาป้องกันเมืองเชียง
ชื่น เสร็จแล้วเสด็จกลับไปรักษาเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกรีธาทัพหลวงขึ้นไปรบตีเชียงใหม่
พ่ายไปได้เมือวเชียวชื่ม ตอนสุดท้ายสรรเสริญพระบารมีสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถอีกครั้งหนึ่ง
 ตัวอย่างข้อความบางตอน

กล่าวถึงการแต่งยวนพ่าย
 สารสยามภาคพร้อง   กลกานท นี้ฤา
คือคู่มาลาสวรรค   ช่อช้อย
เบญญาพิศาลแสดง   เดอมกยรติพระฤา
คือคุ่ไหมแส้งร้อย   กึ่งกลาง

ยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 กษัตริย์สุราชเรื้อง  รศธรรม์
บรรหารยศยอยวน   พ่ายฟ้า
สมภารปราบปลยกัลป์   ทุกทวีป
ร้อยพิภพเหลื้องหล้า   อยู่เย็น
 ร้อยเท้าวรมมรีบเข้า   มาทูล ท่านนา
ถวายประทุมทองเปน   ปิ่นเกล้า
สํภารพ่อพยวสูรย   โสภิต
มอญแลยวนพ่ายเข้า   ข่ายบร



 ลิลิตยวนพ่าย มีลักษณะเป็นวรรณคดีหรือเฉลิมพระเกียรติกษัตริย์ แต่งขึ้นเนื่องจากความปลาบปลื้มยินดีในพระบารมี
ของพระมหากษัตริย์ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นอย่างยิ่ง เพราะบรรยายเรื่องราวต่างๆไว้
อย่างละเอียด และแต่งในระยะเวลาที่เกิดเหตุการณ์หรือใกล้เคียงกับเหตุการณ์นั้น จึงเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่น่าเชื่อถือ

 ลิลิตยวนพ่าย มีลักษณะมาจนทุกวันนี้ ยังสมบูรณ์หรือถูกแต่งเหมือนวรรณคดีบางเรื่อง ถ้อยคำที่ใช้ในโบราณและ
คำสันสกฤตส่วนมาก ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำเหล่านี้ยังไม่ถูกดัดแปลงแก้ไขจากคนชั้นหลัง จึงเป็นประโยชน์แก่การศึกษา
ด้านภาษาอย่างมาก  ถึงแม้จะใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจยาก และเรื่องส่วนใหญ่เกี่ยวกับการรบทัพจับศึก แต่ลิลิต
เรื่องนี้ก็ยังมีลักษณะวรรณคดีดีเด่นเพราะใช้ถ้อยคำไพเราะ โวหารพรรณนาที่ก่อให้เกิดจิตนาภาพ ให้อารมณ์ชื่นชม
ยินดีในบุญญาธิการของพระเจ้าแผ่นดิน และความรุ่งเรืองของบ้านเมือง อันเป็นลักษณะสำคัญของวรรณคดีประเภท
สดุดีความดีเด่นของลิลิตยวนพ่าย ทำให้กวีภายหลัวถือเป็นแบบอย่าง เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา
ปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์ลิลิตตะเลงพ่าย เพื่อสดุดีวีรกรรมของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

ป้ายกำกับ:

มหาชาติคำหลวง




๒.มหาชาติคำหลวง

 ผู้แต่ง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่ง เมื่อจุลศักราช ๘๔๔ พุทธศักราช
 ๒๐๒๕  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิปดีที่ ๒ หรือสามพระยา ก่อน
เสวยราชย์ พระราชบิดาภิเษกให้เป็นพระมหาอุปราช และโปรดให้เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจสิทธิ์ขาด
ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้รับราชสมบัติสืบต่อพระราชบิดา ระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ 

 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ทรงแก้ไขการปกครอง โดย
แยกทหารและพลเรือนออกจากกัน ฝ่ายทหารมีหัวหน้าเป็นสมุหกลาโหม ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก ทรงตั้งยศ
ข้าราชการลดลั่นกันตามชั้น เช่น ขุน หลวง พระยา พระ ทรงทำสงครามกับเชียงใหม่ ได้เมืองเชียงใหม่ พ.ศ.
๒๐๑๗ เป็นเหตุให้เกิดลิลิตยวนพ่าย พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา เสด็จออกผนวชชั่วระยะหนึ่ง ที่
วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก การทำนุบำรุงพระศาสนาในรัชกาลนี้ทำให้เกิดมหาชาติคำหลวง



 ประวัติ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่ง
และปีที่ แต่งมหาชาติคำหลวง ปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติ
คำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะ
และนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครอบ ๑๓ กัณฑ์ เมื่อจุลศักราช ๑๑๗๖ พุทธศักราช ๒๓๔๗ ได้แก่ กัณฑ์ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่อง
 มหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง

 หนังสือคำหลวงมีลักษณะดังนี้
 ๑.เป็นพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูง
 ๒.เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระศาสนาและศีลธรรม
 ๓.ใช้คำประพันธ์หลายประเภท คือโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน  และร่าย
 ๔.ใช้สวดเข้าทำนองหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดประดิษฐ์ขึ้นได้ 

 ความมุ่งหมาย เพื่อใช้อ่านหรือสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา และอาจเรียกรอยตามพระพุทธธรรม
ราชาลิไท ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระเรื่อง

 เรื่องย่อ แบ่งออกเป็น ๑๓ ตอน ซึ่งเรียกว่ากัณฑ์ดังนี้
 กัณฑ์ทศพร เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วเสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นเสด็จไปโปรดพุทธ
บิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เกิดฝนโบกขพรรษ พระสงฆ์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่อง
พระเวสสันชาดก เริ่มตั้งแต่เมื่อกัปที่ ๙๘ นับเป็นแต่ปัจจุบัน พระนางผุสดีซึ่งจะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดร
 ทรงอธิฐานขอเป็นมารดาของผู้มีใจบุญ จบลงตอนพระนางได้รับพระ ๑๐ ประการจากพระอินทร์

 กัณฑ์หิมพานต์  พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญญชัยกับพระนาวผุสดี แห่งแคว้นสีวีราษฎร์
ประสูติตรอกพ่อค้า เมื่อพระเวสสันดรได้เวนราชสมบัติจากพระมารดา  ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่กษัตริย์แห่ง
แคว้นกลิงรางราษฎร์ ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกเนรเทศไปอยู่ป่าหิมพานต์

 กัณฑ์ทานกัณฑ์ ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตตดกทาน คือ ช้าง ม้า รถ ทาสชาย ทาส
หญิง โคนม และนางสนม อย่าง ๗๐๐
 
 กัณฑ์วนประเวสน์ พระเวสสันดรทรงพาพระนางมัทรีพระชายา พระชาลีและพระกันหาพระโอรสพระธิดา เสด็จจาก
เมืองผ่านแคว้นเจตราษฏร์จนเสด็จถึงเขาวงกตในป่าหิมพานต์

 กัณฑ์ชูชก ชูชกพราหมณ์ขอทานได้นางอมิตดาเป็นภรรยา นางใช้ให้ไปขอสองกุมาร ชูชกเดินทางไปสืบข่าวใน
แคว้นสีวีราษฏร์ สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง พบเจตบุตร ลวงเจตบุตร ให้บอกทางไปยังเขาวงกต

 กัณฑ์จุลพน ชูชกเดินทางผ่านป่าตามเส้นทางตามที่เจตบุตรแนะจนถึงทีอยู่ของอัจจุตฤษี

 กัณฑ์มหาพน ชูชกลวงอัจจุจฤษี ให้บอกทางผ่านป่าใหญ่ไปยังที่ประทับของพระเวสสันดร

 กัณฑ์กุมาร ชูชกทูลขอสองกุมาร ทุบตีสองกุมารเฉพาะพรพักตร์พระเวสสันดร แล้วพาออกเดินทาง

 กัณฑ์มัทรี พระนางมัทรีเสด็จกลับมาจากหาผลไม้ที่ป่า ออกติดตามสองกุมารตลอกคืน จนถึงทางวิสัญญีเฉพาะ
พระพักตร์พระเวสสันดร เมื่อทรงพื้นแล้ว พระเวสสันดรเล่าความจริงเกี่ยวกับสองกุมาร พระนางทรงอนุโมทนาด้วย

 กัณฑ์สักกบรรพ พระอินทร์ทรงเกรงว่าจะผู้ที่มาพระนางมัทรีไปเสีย ทรงเปลงเป็นพราหมณ์ชรามาทูลของพระนาง
มัทรีแล้วฝากไว้ที่พระเวสสันดร

 กัณฑ์มหาราช ชูชกเดินทางเข้าแคว้นสีวีราษฎร์ พระเจ้าสญชัยทรงไถ่สองกุมาร ชูชกได้รับพระราชทานเลี้ยง และ
ถึงแก่กรรมด้วยการบริโภคอาหารมากเกินควร

 กัณฑ์ฉกษัตริย์ พระเจ้าสัญญชัย พระนางผุสดี พระชาลี และพระกันหา เสด็จไปทูลเชิญพระเวสสันดรและพระนาง
มัทรีกลับ เมื่อกษัตริย์หกพระองค์ทรงพบกัน ก็ทรงวิสัญญี  ต่อฝนโบกขพรรษตก จึงทรงฟื้นขึ้น

 กัณฑ์นครกัณฑ์ กษัตริย์ทั้งหกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดังเดิม บ้านเมืองสมบูรณ์พูน
สุข

 ตัวอย่างบางตอน

นางมัทรีโศกถึงชาลีกัณหา
 หํสาว
ดุจหงษโปฏก กระเหว่าเล่านนก พลัดแม่สูญหาย
 อุปริปลฺลเล
ตกต่ำติดตม อดนมปางตาย ดุจแก้วแม่หาย ไม่คอยมารดา
 เต มิคา วิย อุกกณฺณา
หนึ่งบุตรเนื้อทราย มิโรทกบวย ทรามรักษาเสนหา
 สมนฺตามฺมภิธาวิโน
ยกหูชูคอ คอยถ้ามารดา เห็นแม่กลับมา วิ่งเข้า เชอยชม
 อานนฺทิโน ปมุทิตา
วิ่งซ้ายวิ่งเข้ามา  ชมรอบมารดา แล้วเข้ากินนม
 วคฺคมานาว กมฺปเร
ลองเชองเรองไป ให้แม่ชื่นชม ให้ลืมอารมณ์ ดุจสองพงงงา
 ตฺยชฺช ปตฺเต น ปสฺสามิ 
พระแก้วแม่เอย บุรโพ้นย่อมคอย คอนรับมารดา
 ชาลิง กณฺหาชินํ จุโภ
วนนี้ไปไหน ไม่รู้เห็นหา โอ้สองพงงงา กัณหาชาลี

 มหาชาติคำหลวง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับศาสนาโดยตรง เป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทยเล่มแรก ที่ปรากฏหลัก
ฐานเหลืออยู่ มีใจความใกล้เคียงกับข้อความที่แต่งเป็นภาษาบาลี แสดงถึงความสามารถในการแปลและเรียบเรียง
ข้อความ การแทรกบาลีลงไว้มากมายเช่นนี้ ทำให้ฟังยากจนต้องมีการแต่งกาพย์มหาชาติขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จ
พระเจ้าทรงธรรม มหาชาติคำหลวงทั้งของเดิมและที่แต่งซ่อมใหม่ในรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตโกสินทร์ นักปราชญ์
ราชบัณฑิตที่เป็นกวีหลายท่านช่วยกันแต่ง จึงมีสำนวนโวหารและถ้อนคำไพเราะเพราะพริ้งอยู่มาก แทรกไว้ด้วยรส
วรรณคดีหลายประการ เช่น ความโศก ความอาลัยรัก ความน้อยใจ และความงามของธรรมชาติ เป็นต้น นอกจาก
นี้ยังให้ความรู้ทางด้านภาษา ทำให้ทราบคำโบราณ คำแผลง และภาษาต่างประเทศ เช่น สันสกฤต และเขมร
เป็นต้น

 มหาชาติคำหลวงแสดงถึงความเลื่อมใสในพุทธศาสนา และความเชื่อในบุญกุสลที่เกิดจากฟังเทศน์เรื่องมหาชาติของ
คนไทยสืบต่อมาจากสุโขทัย    นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระราชศรัทธาใน
พระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง การโปรดเกล้าฯให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง ก็เทียบได้พญาลิไท
ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง

ป้ายกำกับ:

ลิลิตโองการแข่งน้ำ


๑.ลิลิตโองการแข่งน้ำ

 ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิปดีที่๑ (อู่ทอง) ผู้แต่งคงจะเป็นผู้รู้พิธีพราหมณ์ และรู้วิธีประพันธ์
ของไทยเป็นอย่างดี

 สมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงอยุธยา 
สมเด็จฯกรมพระยาดำรวราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานส่าสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑เป็นเชื้อสายของพระเจ้าสิริชัยเชียง
แสนแห่งแคว้นสิริธรรมราช จึงเป็นต้นวงศ์เชียงราย เป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าอู่ทอง เมื่อ พ.ศ.๑๘๘๗ ได้เป็น
เจ้าเมืองอู่ทอง ซึ่งขณะนั้นขึ้นต่อเมืองสุโขทัย ต่อมาเกิดโรคระบาด จึงทรงย้ายราชธานีมาตั้งตำบลหนองโสน แขวง
เมืองอโยธยา เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ 
ขนานนามใหม่ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา และพระองค์ได้รับพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระ
รามาธิปดีที่ ๑ ทรงตั้งพระองค์เป็นใหญ๋ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัยนับแต่สถาปนาราชธานี

 ในรัชกาลนี้ได้รับวัฒนธรรมขอมและพราหมณ์เป็นอันมาก ภาษาไทยจึงเริ่มมีคำเขมรเข้ามาปะปนมากขึ้นมีการ
ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพิธีศรีสัจปานกาล ตามแบบเขมร ซึ่งถ่ายทอดมาจากพราหมณ์อีกต่อหนึ่ง

 ประวัติ ต้นฉบับเดิมที่เหลืออยู่เขียนด้วยอักษรขอม ข้อความที่เพิ่มขึ้นในรัชกาลที่๔ ตามหลักฐานซึ่งรัชกาลที่ ๕
ทรงยืนยันไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน คือ "แทงพระแสงศรประลัยวาต" "แทงพระแสงศรอัคนิวาต" และ 
"แทงพระแสงศรพรหมมาสตร์"คำประพันธ์ที่ใช้คือโคลงห้าและร่ายโบราณ

 หนังสือเรื่องนี้นับว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของคนไทย ที่แต่งเป็นร้อยกรองอย่างสมบูรณ์แบบ ชื่อเรียกแต่เดิมว่า 
โองการแช่งน้ำบ้าง ประกาศแช่งน้ำโคลงห้าบ้าง ต้นฉบับที่ถอดเป็นอักษรไทยจัดเป็นวรรคตอนคำประพันธ์ไว้ค่อนข้าง
สับสน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเจ้าอยู่หัว ทรงสอบทานและพระราชวินิจฉัยเรียบเรียงวรรคตอนใหม่

 ทำนองแต่ง มีลักษณะเป็นลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงแบบโคลงห้า
หรือมณฑกคติ ถ้อยคำ ถ้อยคำที่ใช้ส่วนมากเป็นคำไทยโบราณ นอกจากนั้นมีคำเขมร และบาลี สันสกฤต ปนอยู่
ด้วย คำสันสกฤตมีมากกว่าคำบาลี

 ความมุ่งหมาย ใช้อ่านในพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยาหรือพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง
สึบต่อกันมาจนเลิกไปเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย ใน พ.ศ.๒๔๗๕

 เรื่องย่อ เริ่มต้นด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร  พระพรหมตามลำดับ ต่อจากนั้น
บรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึงไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ เกิด
มนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มีพระราชาธิบดีในหมู่คน แล้วอัญเชิญพระกรรม
บดีปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจมี พระพุทธ พระธรรม
 พระสงฆ์ เทพยาดา อสูร ภูตปีศาจ ตลอดจนสัตว์มีเขี้เล็บเป็นพยาน ลงโทษผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วน
ผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ตอนจบเป็นร่ายยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน

 ตังอย่างข้อความบางตอน
สรรเสริญพระนารายณ์
 โอมสิทธิสธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วฤตยู เอางูปนแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุธมาขี่ส สี่ถือสังขืจักรคธารณี
 ภีรุอวตาร อสุรแลงลาญทัก ททัคนียจรนายฯ แทงพระแสงศรปลัยวาดฯ

กล่างถึงไฟประลัยกัลป์
 นานเอนกน้าวเดิมกัลป์   จักร่ำจักราพาฬเมื่อไหม้
กล่าวถึงตรวันเจดอันพลุ่ง   น้ำแล้วไข้อดหาย
 เจ็ดปลามันพุ่งหล้าเป็นไฟวาบ  จัตุราบบายแผ่นขว้ำ
ชักไตรตรึงษ์เปนผ้า    แลบล้ำสีลอง

อัญเชิญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพรหม เทพยาดา และภูตผีปีศาจ เป็นพยาน
ผู้ใดเภทจงคด ถือขันสรดใบพูตานเสียด มารเฟียดไททศพล ช่วยดู ธรรมารคประเตยก ช่วยดูอเนกกถ่องพระสงฆ์
ช่วดู ขุนหงษทองเกล้าสี่ ช่วยดู ฟ้าฟัดพรีใจยังดู ช่วยดู สี่ปวงผรีหาวแห่ง ช่วยดูฟ้าชรแร่งหกคลอง ช่วยดู ผองผี
กลางหาวแอ่น ช่วยดู ฟ้ากระแฉ่นเรืองผยอง ช่วยดู เจ้าผาดำสามเส้า ช่วยดู แสนผีพึงยอมเท้า เจ้าผาดำผาเผือก
 ช่วยดูฯ

คำสาปแช่งผู้คิดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน
 จงเทพยดา ฝูงนี้ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี อย่าให้มีศุขสวัสดิ์ เมื่อใดฯ

 ลิลิตโองการแช่งน้ำ ใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจยาก และเป็นคำห้วนหนักแน่น เพื่อให้เกิดความน่าเคารพยำเกรง 
ความพรรณนาบางตอนละเอียดละออ เช่น ตอนกล่าวกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจก็สรรหามากล่าวไว้มากมาย
 นอกจากนี้ยังใช้ถ้อยคำประเภทโคลงห้าและร่ายดั้น ซึ่งมีจังหวะลีลาไม่ราบรื่น สะดุดเป็นตอน ๆ ยิ่งเพิ่มความขลัง
ขึ้นอีกเป็นอันมาก จึงนับได้ว่าลิลิตโองการแช่งน้ำเรื่องนี้แต่งได้เหมาะสมกับความมุ่งหมายสำหรับใช้อ่านหรือสวดใน
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่งมีความสำคัญแก่การเพิ่มพูนพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ในระบบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์

 วรรณคดีเรื่องนี้มีกำเนิดจากพระราชพิธีในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แสดงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมร และ
พราหมณ์อย่างชัดเจน สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงรับการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และพระราชพิธีศรีสัจ
ปานจากเขมรมาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์ของบ้านเมืองที่ต้องการสร้างอำนาจปกครองของพระเจ้าแผ่นดิน
 และความมั่นคงของบ้านเมืองในระยะที่เพิ่งก่อสร้างราชอาณาจักร

 ในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏว่ามีพระราชพิธีศรีสัจปานกาล เนื่องจากกษัตริย์สุโขทัยทรงปกครองบ้านเมือบแบบพ่อ
ปกครองลูก ถึงแม้หลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๔๕  มีเนื้อความเกี่ยวกับการสบถสาบานระหว่างกษัตริย์สุโขทัย
ผู้เป็นหลานกับเจ้าเมืองน่านผู้ปู่ และถ้อยคำบางตอนคล้ายกับลิลิตโองการแช่งน้ำ แต่ก็เป็นการสาบานระหว่างบุคคล
เฉพาะกรณี ไม่ใช่พิธีทางราชการทั่วไปกระทำต่อพระเจ้าแผ่นดินเป็นการทั่วไปอย่างที่กรึงศรีอยุธยา อนึ่งข้อความนี้
จารึกไว้ใน พ.ศ.๑๙๓๕ ซึ่งอาจเป็นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒หรือพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลือไท)ตรง
กับรัชการสมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงรีอยุธยา เป็นช่วงที่กรุงสุโขทัยเสียอิสระภาแก่กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ.
 ๑๙๒๑ ถ้าพระราชพิธีสัจปานกาลเคยกระทำที่สุโขทัยก็จะต้องเป็นเวลาภายหลังที่กรุงสุโขทัยตกอยู่ในอำนาจ
ปกครองและอิทธพลทางวัฒนธรรมของ กรุงศริอยุธยาแล้ว


วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา



วรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยา
รุงศรีอยุธยามีอายุยาวนานถึง ๔๑๗ ปี   ช่วงเวลาที่บ้านเมืองรุ่งเรืองในด้านต่าง ๆ พอที่จะเป็นปัจจัยให้เกิด
วรรณคดีอยู่เฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้อนต้นบ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทั้งในด้านการปกครอง การทหาร ศาสนา
 และศิลปกรรมในรัชกาลสมด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒  ทางวรรณคดีปรากฏหลักฐาน
ชัดเจนว่า แต่งมหาชาติคำหลวง เมื่อ พ.ศ.๒๐๒๕ตรงกับรัชกาลสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ส่วนลิลิตยวนพ่าย
ก็แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์พระองค์นี้จึงอาจแต่งในรัชกาลของพระองค์ หรือภายหลังเพียงเล็กน้อย
 คือ รัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒
 
   นอกจากนี้วรรณคดีสำคัญเรื่องอื่น ๆ เช่น ลิลิตพระลอ โคลงกำสรวล โคลงทวาทศ-มาศและโคลงหริภุญชัย 
เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์ และถ้อยคำที่ใช้ก็น่าเกิดสมัยร่วมหรือระยะเวลาใกลเคียงกับมหาชาติคำหลวง
และลิลิตยวนพ่ายหลังจากรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ บ้านเมืองไม่สงบสุขเนื่องจากการทำสงครามกับข้าศึก
ภายนอกและแตกสามัคคีภายในเป็นเหตุให้วรรณคดีว่างเว้นไปเป็นเวลาประมาณหนึ่งศตวรรษ วรรณคดีเรื่องแรกที่
ปรากฏหลักฐานหลังรัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ คือ กาพย์มหาชาติ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมพระราชนิพนธ์
ขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๑๗๐ ต่อจากนั้นประมาณ ๓๐ ปี บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองสามารถเป็นรากฐานให้เกิดวรรณคดีได้อีก
ระยะเวลาหนึ่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชและสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ

ลักษณะวรรณคดีในสมัยอยุธยาตอนต้น

 วรรณคดีสำคัญในสมัยอยุธยาตอนต้นส่วนใหญ่มีเรื่องเกี่ยวกับศาสนาพิธีกรรมและพระมหากษัตริย์ จึงมีเนื้อเรื่อง
คล้ายวรรณคดีสุโขทัยส่วนลักษณะการแต่งต่างกับวรรณคดีสุโขทัยเป็นอย่างมากวรรณคดีในสมัยนี้แต่งด้วยร้อยกรอง
ทั้งสิ้นคำประพันธ์ที่ใช้เกือบทุกชนิด คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ ขาดแต่กลอนส่วนใหญ่แต่งเป็นลิลิต คำบาลี่
สันสกฤตและเขมรเข้ามาปะปนในคำไทยมากขึ้น

วรรณคดีสำคัญได้แก่

 รัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑ 
           ๑.ลิลิตโองการแข่งน้ำ

 รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
           ๒.ลิลิตยวนพ่าย
           ๓.มหาชาติคำหลวง

 วรรณคดีที่สันฐานว่าแต่งในสมัยอยุธยาตอนต้น ได้แก่
           ๔.ลิลิตพระลอ
           ๕.โคลงกำสรวล
           ๖.โคลงทวาทศมาศ

30 วันสำคัญของไทย ที่เยาวชนควรรู้


30 วันสำคัญของไทย ที่เยาวชนควรรู้


30 วันสำคัญของไทย

30 วันสำคัญของไทย ที่เยาวชนควรรู้ (กระทรวงวัฒนธรรม)

       ในแต่ละปี ประเทศไทยเราจะมีวันสำคัญของชาติหลายวันด้วยกัน ทั้งที่เป็นวันสำคัญเกี่ยวกับชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และวันสำคัญทางประเพณี ซึ่งในจำนวนวันเหล่านี้ รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นหยุดราชการ 16 วันด้วยกัน เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันมาฆบูชา วันจักรี วันสงกรานต์ และวันฉัตรมงคล เป็นต้น

       วันสำคัญ หมายถึง วันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆในอดีต และเพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญของวันนั้น ๆ รัฐ - ชุมชน หรือหน่วยงานจึงได้จัดให้มีพิธีการหรือกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ประชาชนหรือคนในสังคมได้ตระหนัก และระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันนั้นด้วยความภาคภูมิใจ หรือเพื่อเป็นแบบอย่างในการประพฤติปฏิบัติที่ดีงามสืบทอดต่อกันมา ซึ่งวันสำคัญนี้จะมีหลายระดับ เช่น ระดับบุคคล ได้แก่ วันเกิด วันแต่งงาน ระดับหน่วยงาน ได้แก่ วันสถาปนาของหน่วยงานนั้นๆ ระดับชาติ ได้แก่ วันเฉลิมพระชนมพรรษา วันวิสาขบูชา และวันภาษาไทยแห่งชาติ เป็นต้น

       อนึ่ง เพื่อให้เยาวชนของเราได้รู้จักวันสำคัญของไทย กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอสรุปวันสำคัญ ๆ ที่ควรรู้จักในรอบปีให้ทราบดังนี้ 
    
วันสำคัญเกี่ยวเนื่องกับพระมหากษัตริย์ไทย 

       1. วันยุทธหัตถี ตรงกับ วันที่ 18 มกราคม เป็นวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อพระมหาอุปราชา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2135 ยุทหัตถี หมายถึง การต่อสู้ด้วยอาวุธบนหลังช้าง เป็นการรบอย่างกษัตริย์สมัยโบราณ ถือป็นยอดยุทธวิธีของนักรบ เพราะเป็นการต่อสู้อย่างตัวต่อตัว กษัตริย์พระองค์ใดกระทำยุทธหัตถีชนะจะได้รับการยกย่องว่า มีพระเกียรติยศสูงสุด และแม้แต่ผู้แพ้ก็ได้รับการยกย่องสรรเสริญว่าเป็นนักรบแท้เช่นกัน

       2. วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันประกาศยกย่อง และเชิดชูเกียรติศิลปินชั้นครูของไทยที่ได้รับการคัด เลือกจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็น "ศิลปินแห่งชาติ" โดยยึดถือเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 "พระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์" ผู้ทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญในศิลปะทุกแขนงอย่างกว้างขวางลึกซึ้ง เป็น "วันศิลปินแห่งชาติ"  

       3. วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม เป็นระลึกถึงวันคล้ายวันพระราชสมภพของรัชกาลที่ 3 ที่ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจในการทำนุบำรุงบ้านเมืองทั้งในด้านการศาสนา การศึกษาและอื่นๆอีกมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างยิ่ง ในสมัยของพระองค์ได้ทรงเก็บเงินบางส่วนใส่ "ถุงแดง" เอาไว้ ซึ่งต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงนำมาใช้เป็นค่าปรับในกรณีพิพาทกับประเทศฝรั่งเศส เมื่อ ร.ศ.112 ช่วยให้ประเทศไทยรอดพ้นวิกฤตการณ์ทางการเมืองและสงครามระหว่างประเทศไปได้

       4. วันจักรี ตรงกับวันที่ 6 เมษายน หมายถึง วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระปฐมบรมราชวงศ์จักรี เสด็จกรีฑาทัพถึงพระนคร และทรงรับอัญเชิญขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติดำรงราชอาณาจักรสยามประเทศเป็นวัน แรก ตลอดพระชนมชีพของรัชกาลที่ 1 ต้องทรงออกศึกใหญ่เพื่อกอบกู้อิสรภาพถึง 11 ครั้ง โดยทรงเป็นแม่ทัพถึง 10 ครั้ง และทรงร่วมกับพระเจ้ากรุงธนบุรี 1 ครั้ง และเมื่อทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแล้ว ยังต้องออกศึกเพื่อปกป้องอิสรภาพของชาติไทยอีกถึง 7 ครั้ง นับว่าพระองค์ทรงเป็นพระกษัตริย์ยอดนักรบที่ยิ่งใหญ่และเก่งกล้าสามารถยิ่ง

       5. วันฉัตรมงคล ตรงกับวันที่ 5 พฤษภาคม คือวันรำลึกถึงวันที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบันได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษกเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรีอย่างสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 และทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"(ซึ่ง ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 เมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อจากพระบรมเชษฐาธิราชรัชกาลที่ 8 นั้น ยังไม่ได้ทรงกระทำพิธีบรมราชาภิเษก เนื่องจากต้องเสด็จกลับไปศึกษาต่อ)

       6. วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง อันเป็นปรากฏการณ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงคำนวณทำนายไว้ก่อนล่วงหน้าถึง 2 ปีอย่างแม่นยำ และได้เสด็จฯไปทอดพระเนตรที่ ตำบลหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ในวันดังกล่าว เมื่อปี พ.ศ. 2411

30 วันสำคัญของไทย

       7. วันเยาวชนแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 20 กันยายน ด้วยถือว่าวันนี้เป็นวันที่เป็นสิริมงคลยิ่ง เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีถึง สองพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ซึ่งทั้งสองพระองค์นอกจากจะทรงครองราชย์สมบัติตั้งแต่ทรงพระเยาว์แล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถยิ่ง สมควรที่เยาวชนไทยจะเจริญรอยตามเบื้องยุคลบาท

       8. วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย พระราชกรณียกิจของพระองค์ไม่ว่าจะเป็น การเลิกทาส การพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดิน การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อสาธารณูปการ การเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ ฯลฯ ล้วนเป็นพื้นฐานแห่งความเจริญสืบต่อมาจนปัจจุบัน

       9. วันวชิราวุธ ตรงกับวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า " สมเด็จพระมหาธีรราช เจ้า " เพราะทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์เดียวที่ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมประเภท ต่างๆ เป็นจำนวนมาก เท่าที่รวบรวมได้ในปัจจุบันมีถึง 1,236 เรื่อง นอกจากนั้นยังทรงบัญญัติศัพท์ และทรงตั้งนามสกุลพระราชทาน ซึ่งได้รวบรวมไว้ขณะนี้เป็นจำนวนประมาณ 6,432 นามสกุล


       10. วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตรงกับ วันที่ 5 ธันวาคม วันนี้ถือเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" และ "วันชาติไทย" ด้วย ตลอดระยะเวลายาวนานร่วม 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงอุทิศพระวรกาย พระราชหฤทัย และพระสติปัญญาของพระองค์ บำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันยังประโยชน์สุขให้แก่ราษฎรของพระองค์มาโดยตลอด ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจที่มีอยู่มากมายนับไม่ถ้วนนับพันโครงการ 

       11. วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามฉบับถาวร เป็นฉบับแรกให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อปีพ.ศ. 2475 ภายหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบ ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ และมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด 

       12. วันพระเจ้าตากสินมหาราช ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเป็นวีรกษัตริย์ไทยอีกพระองค์หนึ่งที่ได้รับการเทิดทูน และเคารพบูชาจากประชาชนชาวไทยมาโดยตลอด ไม่เพียงเพราะพระปรีชาสามารถในการรบที่กอบกู้ชาติไทยให้เป็นเอกราช และสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่บ้านเมืองของเราเท่านั้น แต่พระองค์ยังเป็นผู้นำที่เปี่ยมไปด้วยความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว มีความกตัญญู และเสียสละต่อผืนแผ่นดินไทยอย่างยากที่จะหาผู้ใดเสมือนเหมือนอีกด้วย



วันสำคัญหลัก ๆ ทางศาสนา จะประกอบด้วย 



       13. วันมาฆบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 เป็นวันที่พระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้จำนวน 1,250 รูปมาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย พระพุทธองค์จึงได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ปัจจุบันเราถือว่าวันนี้เป็น "วันแห่งความรักทางพุทธศาสนา" ทั้งนี้ เนื่องจากวันดังกล่าวได้เกิดเหตุการณ์พิเศษที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" ขึ้น และเป็นวันที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศหลักการและอุดมการณ์ แห่งพุทธศาสนา อันมีเนื้อหาหลัก ว่าด้วยการส่งเสริมให้มวลมนุษย์ตั้งมั่นในการทำความดี ละความชั่ว ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน นั่นก็คือ ทรงสอนให้ทุกคนมีความรักอันยิ่งใหญ่ เป็นรักที่ไม่เห็นแก่ตัว เพราะสอนให้รู้จักรัก และเมตตาต่อเพื่อนร่วมโลก โดยมีพระสงฆ์เป็นผู้นำพระธรรมคำสั่งสอนดังกล่าวไปเผยแพร่

       14. วันวิสาขบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 เป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งสิ่งที่สำคัญยิ่งในการบังเกิดพระพุทธเจ้าในโลกก็คือ "ธรรมะ" ที่พระองค์ทรงตรัสรู้ อันเป็นหลักในการดำเนินชีวิต ทรงเปรียบเสมือนบรมครูผู้มาสอน มาชี้แนะแก่มวลมนุษย์ มิฉะนั้นคนเราก็คงไม่รู้จักหนทางแห่งการปฏิบัติธรรมเพื่อล่วงพ้นความทุกข์ เป็นแน่แท้ และวันวิสาขบูชา นี้องค์การสหประชาชาติได้มีมติรับรองให้ เป็นวันสำคัญสากล เมื่อปี พ.ศ.2542
    
       15. วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เป็นวันที่มีพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ครบเป็นองค์รัตนตรัยครั้งแรกในโลก ซึ่งพระสงฆ์องค์แรกคือ พระอัญญาโกณฑัญญะ และปฐมเทศนาที่ทรงแสดงคือ ธรรมจักกัปวัตนสูตร หมายถึง พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป นั่นคือ ธรรมะของพระพุทธองค์เหมือนวงล้อธรรมที่ได้เริ่มเคลื่อนแล้วจากจุดเริ่มต้นในวันนี้

     
       16. วันเข้าพรรษา เป็นวันเริ่มต้นที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องอธิษฐานจำพรรษาอยู่กับที่ ไม่เที่ยวจาริกไปยังที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 3 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี ซึ่งการให้จำพรรษาในสมัยพุทธกาล ก็เพื่อป้องกันมิให้พระสงฆ์ไปเหยียบย่ำข้าว และพืชผลของชาวบ้านเสียหาย ต่อมาถือเป็นโอกาสดีที่พระภิกษุจะได้มาอยู่ร่วมกันเพื่อศึกษาธรรมะ ส่วนชาวบ้านก็ได้เข้าวัดถวายทาน รักษาศีล ฟังธรรม และเจริญภาวนาเพื่อเพิ่มพูนบุญกุศลโดยมีพระภิกษุเป็นแบบอย่าง ครั้นต่อมาจึงเกิดประเพณีนิยมบวช 3 เดือน ขณะเดียวกัน ก็มีพุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งนิยมถือเอาวันเข้าพรรษาเป็นวันเริ่ม ต้นที่จะอธิฐานจิตลด ละ ความชั่วทั้งหลาย และทำความดีเพิ่มขึ้น สำหรับประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับวันนี้คือ การถวายผ้าอาบน้ำฝนและการแห่งถวายเทียนพรรษา
     

       17. วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 เป็นวันที่พระภิกษุพ้นข้อกำหนดทางวินัยที่จะอยู่จำพรรษา นับตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นมา และสามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ ซึ่งจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง คือ การตักบาตรเทโวโรหนะ คือวันถัดจากวันออกพรรษา 1 วัน ซึ่งพุทธศาสนิกชนมักจะตักบาตรในวันนี้ ด้วยนิยมว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาอยู่ 3 เดือน และถัดจากออกพรรษา 1 เดือน ถือเป็น เทศกาลกฐิน ที่จะทำบุญถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ
    


วันสำคัญอื่น ๆ ของชาติ และวันสำคัญทางประเพณี
    
       18. วันขึ้นปีใหม่ ก่อนที่ไทยเราจะมีวันปีใหม่แบบสากลเช่นปัจจุบัน เราได้มีการเปลี่ยนแปลงปีใหม่มาแล้วถึง 3 ระยะ คือ เริ่มแรก ถือวันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ระยะที่สอง เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 คือราวช่วงสงกรานต์ โดยใช้ปีนักษัตรและการเปลี่ยนจุลศักราชเป็นเกณฑ์ ระยะที่สาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายนอันเป็นนับวันทางสุริยคติ ซึ่งได้ประกาศใช้มาตั้งแต่พ.ศ. 2432 ระยะที่สี่ คือในปี พ.ศ. 2483 รัฐบาลได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยให้เป็นไปตามแบบสากลนิยม คือวันที่ 1 มกราคม โดยมีเหตุผลว่า วันดังกล่าวกำหนดขึ้นโดยการคำนวณด้วยวิทยาการทางดาราศาสตร์ และเป็นที่นิยมใช้กันมากว่าสองพันปี อีกทั้งไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิศาสนา หรือการเมืองของชาติใด แต่สอดคล้องกับจารีตประเพณีของไทยแต่โบราณที่ใช้ฤดูหนาวเป็นต้นปี
     
       19. วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม จัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตน และขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ประชาชน และสังคมเห็นความสำคัญของเด็กที่จะเติบโตเป็นอนาคตของชาติ และเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญที่ควรได้รับการดูแลเอาใจใส่
     
       20. วันครู ตรงกับวันที่ 16 มกราคม จัดขึ้นเพื่อให้สังคมได้ระลึกถึงความสำคัญของ " ครู " ในฐานะผู้เสียสละและประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน โดยเฉพาะช่วยสร้างบุคลากรที่เป็นอนาคตของชาติ
     
       21. วันอนุรักษ์มรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายน อันเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระราชจริยวัตรในด้าน อนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่างๆ ทรงได้รับการถวายพระสมัญญาเป็น "เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย" และ "วิศิษฏศิลปิน" อันหมายถึง ผู้เป็นเลิศในทางศิลปะ ทรงเป็นเมธีทางวัฒนธรรม และทรงมีคุณูปการต่องานศิลปะวัฒนธรรม

30 วันสำคัญของไทย
    
       22. วันสงกรานต์ เป็นปีใหม่แบบเดิมของไทย ที่นับวันที่พระอาทิตย์ย่างเข้าสู่ราศีเมษ เป็นวันเริ่มต้นปี โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน เป็น "วันมหาสงกรานต์" และถือเป็น "วันผู้สูงอายุแห่งชาติ" ด้วย ส่วนวันที่ 14 เมษายน เรียก "วันเนา" และถือเป็น "วันครอบครัว" ส่วนวันที่ 15 เมษายน เรียกว่า "วันเถลิงศก" หรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่ ปีนี้นางสงกรานต์ชื่อ มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย หัตถ์ขวาทรงจักร หัตถ์ซ้ายทรงตรีศูรย์ เสด็จนั่งมาเหนือหลังนกยูง
   
       23. วันพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นอกจากจะเป็นพระราชพิธีโบราณเก่าแก่ที่จะทำเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเป็น สิริมงคลแก่การเกษตรกรรมแล้ว วันดังกล่าวยังถือเป็น "วันเกษตรกร" อีกด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้มีอาชีพทางการเกษตรได้ระลึกถึงความสำคัญของการเกษตร โดยเฉพาะประชาชนทั่วไปจะได้ระลึกถึงความสำคัญของข้าวและธัญญพืชที่มีคุณเอนกอนันต์ในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้เติบโตสมบูรณ์ทั้งกายใจ และเหนือสิ่งอื่นใดเพื่อพึงระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชกรณียกิจอันเป็นแบบอย่างทางด้านเกษตรกรรมแก่ราษฎร ชักนำให้มีใจมั่นในการประกอบอาชีพและเป็นเหตุของความตั้งมั่นความเจริญ ไพบูลย์ของประเทศมาโดยตลอด


     
       24. วันสุนทรภู่ ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน เป็นวันคล้ายวันเกิดของพระสุนทรโวหาร (สุนทรภู่) ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และมีผลงานประพันธ์มากมาย เฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี วรรณกรรมชิ้นเอกของท่าน ก็มีความยาวถึง 12,706 บท ถือได้ว่าเป็นกวีนิพนธ์ที่ยาวที่สุดในโลก ในขณะที่บทประพันธ์เรื่องอีเลียต ( Iliad ) ) และโอเดดซี (Odyssey) ของฝรั่งที่ว่ายาวที่สุด ยังมีเพียง 12,500 บทเท่านั้น เมื่อปี พ.ศ. 2529 ท่านได้รับยกย่องจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก
     
       25. วันภาษาไทยแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 29 กรกฎาคม เป็นวันคล้ายวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงพระกรุณาเสด็จฯ ไปทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิทางภาษาไทยของชุมนุมภาษาไทยคณะอักษร ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถ ความสนพระราชหฤทัย และความห่วงใยในภาษาไทยของพระองค์ท่านเป็นอย่างมาก


    
       26. วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ "วันแม่แห่งชาติ" ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงเปรียบประดุจ "แม่แห่งแผ่นดิน" ที่ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎรดังลูก ๆ ของพระองค์ และทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อปวงชนชาวไทยเคียงคู่กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด โดยเฉพาะด้านศิลปาชีพ และการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมของไทย

   

        27. วันพิพิธภัณฑ์ไทย ตรงกับวันที่ 19 กันยายน เป็นวันน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ผู้ทรงให้กำเนิด "พิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชน" ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่19 กันยายน พ.ศ. 2417 ณ ศาลาสหทัยสมาคม หรือ "หอคองคอเดีย" ในพระบรมมหาราชวัง
    
       28. วันมหิดล ตรงกับวันที่ 24 กันยายน เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ผู้ทรงมีคุณูปการต่อการแพทย์สมัยใหม่ จนได้รับการเฉลิมพระเกียรติว่าทรงเป็น " พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน "

   
       29. วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณ โดยมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น ลอยเคราะห์ บูชาพระพุทธเจ้า แต่ปัจจุบันนิยมทำเพื่อขอขมา และระลึกถึงคุณแม่พระคงคา ที่ได้อำนวยประโยชน์ต่าง ๆ แก่มนุษย์

       30. วันกีฬาแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 16 ธันวาคม เป็นวันระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชนะเลิศได้รับเหรียญทอง ในการแข่งขันเรือใบประเภท โอ.เค.ในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4 เมื่อปี พ.ศ. 2510 และเพื่อให้ประชาชน เยาวชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของกีฬาที่มีส่วนช่วยส่งเสริมให้เรามีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจ

        ทั้งหมดนี้ คือวันสำคัญของไทยในรอบปีหนึ่ง ๆ ที่แม้จะมิใช่วันหยุดราชการทั้งหมด แต่ก็เป็นวันสำคัญของชาติที่เยาวชนไทยควรได้ทราบเพื่อเป็นความรู้ต่อไป




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
งานประชาสัมพันธ์ อาคารประชาสัมพันธ์ โรงเรียนชลราษฎรอำรุง โทรศัพท์ /Tel: 038 282078 Ext. 101 โทรสาร/Fax : 038 282079 e-mail: khwuanyuen@gmail.com; prcru101@gmail.com
ขับเคลื่อนโดย Blogger.