พบ ไตรภูมิ โบราณสมัยอยุธยาอยู่ที่ฝรั่งเศส







ตื่นพบ “ไตรภูมิ” โบราณสมัยอยุธยาอยู่ที่ฝรั่งเศส ชี้เป็นเอกสารสำคัญระดับชาติ ขอสำเนามาศึกษา พบลักษณะการเขียนแบบอยุธยา คล้ายสนธิสัญญา ไทย-ฝรั่งเศส สมัยสมเด็จพระนารายณ์ เผยเป็นการเปิดประวัติศาตร์หน้าใหม่ในวงการวรรณคดีไทย  ล้างความเชื่อ ยุคอยุธยาไม่มีไตรภูมิ

สำเนาหนังสือไตรภูมิ คัดลอกมาจากต้นฉบับ ไตรยภูมิพระมาไลย จากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งชี้ว่าเป็นหลักฐานสำคัญในการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ยืนยันว่า สมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

เมื่อวันที่ 9 กันยายน นายบุญเตือน ศรีวรพจน์ นักอักษรศาสตร์ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มภาษาและวรรณกรรม สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (สวป.) กรมศิลปากร เปิดเผยว่า  สวป. ได้ค้นพบเอกสารชิ้นสำคัญระดับชาติชิ้นใหม่ คือ หนังสือไตรภูมิ  ซึ่งสันนิษฐานว่า จะเป็นไตรภูมิในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยขณะนี้ถูกเก็บรักษาไว้ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ทางนายปรีดี พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาได้ดำเนินการคัดลอกสำนักมาจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส เพื่อนำมาให้สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญได้ดำเนินการตรวจสอบแล้ว 

นายบุญเตือน กล่าวว่า สิ่งที่บอกว่าหนังสือเล่มนี้มีความสำคัญมาก เนื่องจากหนังสือไตรภูมิเอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ไม่เคยถูกค้นพบในประเทศไทย เนื้อหาบางส่วนต่างไปจากไตรภูมิฉบับอื่นๆ โดยได้ให้ผู้เชี่ยวชาญด้านอักขรวิธีต่างๆมาตรวจสอบแล้ว บ่งชี้ว่า หน้าต้นบอกชื่อหนังสือว่า ไตรยภูมิพระมาไลย ต้นฉบับน่าจะมีอายุเก่าถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา

ลักษณะตัวอักษรที่บันทึกในหน้าแรกเป็นแบบที่เรียกว่า อักษรไทยย่อ ซึ่งนิยมใช้กันในสมัยอยุธยาตอนปลาย ที่ปรากฏในหลักฐานหนังสือต่างๆหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส พ.ศ.2231 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สำหรับเนื้อหาของไตรภูมิเล่มนี้แบ่งเนื้อหาหลักออกเป็น 2 ส่วน คือ เรื่องไตรภูมิ และเรื่องพระมาไลย


"เอกสารไตรภูมิเล่มนี้ ไม่เคยค้นพบในประเทศไทยมาก่อน นักวิชาการหลายคนคิดว่า สมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่มีไตรภูมิที่เป็นลักษณะการเขียน มีเพียงสมุดภาพไตรภูมิเท่านั้น ดังนั้นในทำเนียบวรรณคดีไทยจึงไม่ปรากฎว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิ

การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความคิดของนักวิชาการด้านไตรภูมิ จะเสนอให้คณะกรรมการวรรณคดีแห่งชาติขึ้นทำเนียบใหม่ว่าในสมัยกรุงศรีอยุธยามีไตรภูมิด้วย ถือเป็นการเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ นี่คือวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาแน่นอน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้สำนักวรรณกรรมและประวติศาสตร์ จึงได้นำสำเนาเอกสารดังกล่าวมาเรียบเรียงใหม่เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น พร้อมทั้งนำสำเนาต้นฉบับมาให้จัดทำเป็นหนังสือ ไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส จำนวน 1,000 เล่ม โดยจะนำไปมอบให้สถาบันการศึกษา หอสมุดทั่วประเทศได้ใช้ศึกษาต่อไป พร้อมกันนี้จะจัดเก็บเป็นอีบุ๊คสำหรับผู้สนใจดาวโหลดไว้ศึกษาด้วย" นักอักษรศาสตร์ กล่าว

สำหรับหนังสือไตรภูมิ เอกสารจากหอสมุดแห่งชาติ กรุงปารีส จะมีเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับคติศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนา ดังนี้ อธิบายเรื่องไตรภูมิ คติไตรภูมิ-ไตรภพใน “คัมภีร์พุทธเพทพระเวทมนตร์” พระบรเมสวรสร้างจักรวาล เขาพระสุเมรุและเขาสัตบริภัณฑ์ กำเนิดมนุษย์ กำเนิดลังกาทวีป กำเนิดพระอาทิตย์ พระจันทร์ พระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ศาสนาพระศรีอาริยไมตรี อานิสงส์ศีล 5 มหาพราหมเทพราชสร้างเทรวดาต่างๆ ไฟประลัยกัลป ทวีปทั้ง 4 ฉกามาพจรภูมิ นรกภูมิ และสำเนาเอกสารต้นฉบับ

ส่วนที่มาของหนังสือไตรภูมิปรากฏครั้งแรก คือ ไตรภูมิกถา และไตรภูมิพระร่วง ซึ่งสมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทยทรงเรียบเรียงขึ้นในสมัยสุโขทัย พ.ศ.1888 นอกจากนี้ยังมี ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา หรือไตรภูมิฉบับหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดฯให้ชำระเมื่อพ.ศ.2345 ขณะที่ไตรภูมิสมัยอยุธยานั้น เพิ่งปรากฏฉบับนี้เป็นฉบับแรก

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย




วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย  (พ.ศ. ๒๒๗๕-พ.ศ. ๒๓๑๐)

             กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลาย

                   ๑. พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ งานที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ

                      -  โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์

                   ๒. เจ้าฟ้าอภัย งานที่ทรงนิพนธ์ คือ

                     -   โคลงนิราศ

                   ๓. เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร งานที่ทรงนิพนธ์ คือ

                   -    นันโทปนันทสูตรคำหลวง

                   -    พระมาลัยคำหลวง

                   -    กาพย์เห่เรือ

                   -    กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

                   -    กาพย์ห่อโคลงนิราศ

                   -    บทเห่เรื่องกากี เห่สังวาส เห่ครวญ และเพลงยาว

                 ๔. เจ้าฟ้ากุณฑล งานที่ทรงนิพนธ์ คือ

                  -    ดาหลัง (อิเหนาใหญ่)

                 ๕. เจ้าฟ้ามงกุฎ งานที่ทรงนิพนธ์ คือ

                  -   อิเหนา (อิเหนาเล็ก)

                 ๖. พระมหานาควัดท่าทราย งานที่แต่ง คือ

                  -    ปุณโณวาทคำฉันท์

                  -    โคลงนิราศพระบาท

                  ๗. หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) งานที่แต่ง คือ

                  -    กลบทสิริวิบุลกิติ




              เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยาเริ่มระส่ำระสาย เนื่องจากการชิง
ราชสมบัติ เกิดกบฏและเกิดสงครามกับนครศรีธรรมราชและกัมพูชาจึงทำให้วรรณคดีชะงักงันเป็นเวลาเกือบครึ่ง
ศตวรรษต่อมาได้มีโอกาสรุ่งเรืองขึ้นระยะหนึ่งเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ครองครองราชสมบัติทั้งนี้เพราะ
พระมหากษัตริย์พระองค์นี้เอาพระทัยใส่ในการศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตรเป็นพิเศษผู้ถวายตัวเข้ารับราชกาลจะต้อง
มีวิชาความรู้ชั้นสามัญและบวชเรียนในพระพุทธศาสนามาก่อนทรงสนับสนุนงานวรรณคดีอย่างจริงจัง รัชกาลสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งมีเวลา ๒๖ ปี มีความเจริญทางวรรณคดีเท่าเทียมกันกับยุคทองของวรรณคดี กวีมีทั้ง
บรรพชิตและฆราวาสชายและหญิง เจ้านายและสามัญชน

นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่สำคัญของยุคกรุงศรีอยุธยา


นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่สำคัญของยุคกรุงศรีอยุธยา
1.   จินดามณี
 
  หนังสือ จินดามณี นั้นมีหลายสำนวน จึงเป็นการยากที่จะระบุว่าผู้ใดเป็นผู้แต่งฉบับไหน แต่ในฉบับความพ้องนั้นส่วนใหญ่เป็นหนังสือจินดามณีที่พระโหราธิบดีแต่งถวายสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อครั้งอยู่สุโขทัย โดยแต่งให้เนื่องจากทรงได้เป็นเจ้าเมืองลพบุรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในบันทึกสมาคมวรรณคดี ปีที ๑ เล่ม ๕ พ.ศ. ๒๔๓๕ ว่า    "สมเด็จพระนารายณ์ทรงดำรัสสั่งให้พระโหราแต่งหนังสือ จินดามณี และหนังสือพระราชพงศาวดาร ด้วยว่าพวกบาทหลวงฝรั่งเศษเมื่อแรกเข้ามาสอน ศาสนาคริสต์ในพระนครศรีอยุธยานั้น ได้มาตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่เด็กไทยด้วย ดังนั้นพระนารายณ์ทรงเห็นว่าถ้าฝ่ายไทยไม่เอาเป็นธุระจัดบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้รุ่งเรือง ก็จะเสียเปรียบฝรั่งเศส คาดว่าพระโหรานั้นเป็นปราชญ์ที่มีชื่อเสียงอีกทั้งเชี่ยวชาญ พระองค์จึงมีรับสั่งให้พระโหราแต่งตำราถวาย
 2.   มหาชาติคำหลวง
 
  ประวัติ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่งและปีที่ แต่งมหาชาติคำหลวง ปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติ   คำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครอบ ๑๓ กัณฑ์ เมื่อจุลศักราช ๑๑๗๖ พุทธศักราช ๒๓๔๗ ได้แก่ กัณฑ์ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์
          ทำนองแต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่อง มหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง
3.   กาพย์มหาชาติ
              
เนื้อหาของกาพย์มหาชาตินั้น เป็นการเล่าเรื่องมหาชาติ หรือเรื่องมหาเวสสันดรชาดกนั่นเอง เป็นการแต่งแบบที่เรียกว่า ยกคาถา กล่าวคือ ยกคาถาภาษาบาลีขึ้นมาประโยคหนึ่ง แล้วแต่งภาษาไทยเล่า สลับไปเป็นช่วงๆ จนจบ โดยใช้คำประพันธ์ที่เรียกว่าร่ายโบราณ หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ร่ายมหาชาติ เนื่องจากเป็นร้อยกรองที่แต่งไว้สำหรับการเทศน์เรื่องมหาชาตินั่นเอง แต่ละกัณฑ์ (ในกาพย์มหาชาติเรียกว่าบรรพ) มีความยาวไม่มาก
4.    สมุดไทย (สมุดข่อย )
             
แต่ก่อนคนไทยบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยสมุดไทย จากกระดาษสากระดาษข่อย แต่เท่าที่พบส่วนมากจะใช้กระดาษข่อย จึงเรียกสมุดข่อยจึงจะเป็นเรื่องราวเฉพาะของสมุดข่อยเท่านั้น  ลักษณะเด่นของสมุดข่อยคือเป็นแผ่นกระดาษพับทบไปทบมา เขียนได้ทั้ง ๒ หน้า เมื่อพับเก็บเป็นเส้นจะมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาวมีปกสมุด ซึ่งเราจะเห็นอยู่ส่วนบนและล่าง สมุดพวกนี้มักได้รับการเก็บรักษาในห่อผ้าผูกอย่างมิดชิด แล้วเก็บในตู้หรือหีบพระธรรม  ซึ่งอยู่ในหอไตร  อันล้อมรอบด้วยน้ำอีกชั้นหนึ่ง จึงเห็นได้ว่าคนโบราณเก็บรักษาสมุดข่อยไว้อย่างรัดกุม เรียบร้อย แหล่งสมุดข่อยมักอยู่ตามวัด เพราะวัดได้ชื่อว่าเป็นสถาบันการศึกษาของคนไทยแต่ก่อน  แต่ปัจจุบันสมุดข่อยค่อย ๆ สูญหายหรือถูกทำลายไปจากผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือผู้เห็นแก่ได้  ศัตรูสำคัญของสมุดข่อย นอกจากร้านค้าของเก่าแล้ว ก็คือบรรดาหมอแผนโบราณ   ที่มักเอาสมุดข่อยมาเผาทำยาด้วย
5.   ใบลาน
               ต้นลาน
ใบลาน หรือ คัมภีร์ใบลาน หรือ หนังสือใบลาน เป็นเอกสารโบราณประเภทหนึ่ง ทำมาจากต้นลาน การบันทึกตัวอักษรลงในใบลานเรียกว่า จาร การทำใบลานเป็นเล่มนั้นต้องเจาะรูแล้วเอาเชือกร้อย เชือกที่ใช้ร้อยเรียกว่า สายสนอง ถ้าไม่ใช้เชือกก็อาจใช้เส้นผมมาถักร้อยก็ได้ สมัยก่อนถือเป็นสิริมงคล เมื่อร้อยผูกรวมกันแล้วเรียกว่าคัมภีร์ใบลานหนึ่งผูก ไม่เรียกเป็นเป็นเล่มเหมือนกระดาษ และอาจใช้ไม้ประกับเป็นปกหน้า ปกหลัง เพิ่มความแข็งแรงและความสวยงามของคัมภีร์ ไม้ประกับมักทำลวดลายและมีสีสันสวยงามเพิ่มคุณค่าแก่หนังสือใบลานด้วย ขอบใบลานก็อาจมีการตกแต่งให้สวยงาม แข็งแรง เรียกเป็นฉบับ ได้แก่ ฉบับล่องชาด ฉบับทองทึบ ถ้าไม่มีการตกแต่งเลยก็จะเรียกว่า ฉบับลานดิบ ขั้นตอนสุดท้ายในการเก็บรักษาอาจห่อด้วยผ้า อาจนำคัมภีร์หลายๆ ผูกมาห่อรวมกันก็ได้ แล้วเขียนบันทึกหรือทะเบียนติดไว้บนห่อเพื่อสะดวกในการค้นหา

วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย



วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
              
          วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย ก่อนยุคทองแห่งวรรณคดี

 เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแล้ว สมเด็จพระรามาธิปดีที่๒เสวยราชย์ต่อมาเป็นเวลาถึง ๔๐ ปี 
(พ.ศ.๒๐๓๒-๒๐๗๒)บ้านเมืองสงบสุขและศิลปกรรมเจริญมากสันนิษฐานว่าวรรณคดีสำคัญบางเรื่องเกิดขึ้นใน
ช่วงเวลานี้หลังจากวรรณคดีได้ว่างเว้นไปเป็นเวลานานเกือบร้อยปีเนื่องจากบ้านเมืองไปปกติ ต้องทำสงครามกับพม่า 
เริ่มแต่รัชกาลสมเด็จพระไชยราชาธิราช จนเสียกรุงแก่พม่าในรัชกาลสมเด็จพระมหินทราธิราชถึงสมเด็จพระนเรศวร
มหาราชทรงกู้เอกราชได้ก็ต้องทำสงครามขับเคี่ยวกับพม่าและเขมรตลอดรัชกาล นอกจากนี้เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จ
พระเอกาทศรถก็เกิดความไม่สงบสุขภายใน พระราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ คือ พระศรีศิลป์ ทรงชิง
ราชสมบัติปลงพระชนม์เจ้าฟ้าศรีเสาวภาคคย์แล้วขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม กษัตริย์
พระองค์นี้ผนวชมาก่อน ได้สมณศักดิ์เป็นที่พระพิมลธรรม จึงเอาพระใส่ในพระพุทธศาสนา และทรงพระราชนิพนธ์
กาพย์มหาชาติ นับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกในสมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแล้ว
บ้านเมืองก็เกิดความวุ่นวายภายในอีก สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ทรงชิงราชสมบัติจากพระราชโอรสของพระเจ้า
ทรงธรรม แล้วทรงปรายดาภิเภกเป็นกษัตริย์ต่อในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้เกิดเหตุการณ์ที่มีส่วนทำลาย
วรรณคดีของชาติ  กล่าวคือพระเจ้าลูกเธอฝ่ายในพระองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ เชื่อกันว่าต้องคุณ จึงเกิดเผาตำรา
ไสยศาสตร์ เพราะเกรงจะเกิดโทษ เป็นเหตุให้วรรณคดีสำคัญต่าง ๆพลอยถูกทำลายไปด้วย

 ยุคทองแห่งวรรณคดี

 รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้รับยกย่องว่าเป็นยุคทองแห่งวรรณคดี เพราะมีนักปราชญ์ราชกวีและวรรณคดี
เกิดขึ้นมากมายในเวลาเพียวรัชกาลเดียวนี้ นับแต่องค์ประมุข คือ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนถึงบุคคลชั้นผู้น้อย
ทั้งชายหญิง เช่น นาประตู ต่างพากันสนใจวรรณคดีและสามารถสร้างสรรค์วรรณคดีสำคัญหลายเรื่อง ราชสำนักของ
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นที่ประชุมกวีนักปราชญ์ โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์อุปถัมภ์

 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เสวยราชย์ระหว่าง พ.ศ.๒๑๙๙ ถึง พ.ศ.๒๒๓๑ พระองค์ทรงพระปรีชาสมารถใน
การปกครอง และทรงปราดเปรื่องในการกวี กรุงศรีอยุธยาจึงมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดอีกช่วงเวลาหนึ่ง มีการทำ
สงคราม รบชนะเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๒๐๕ ต่อจากนั้นบ้านเมืองก็สงบราบคาบตลอดรัชกาล ทรงเวลาทะนุบำรุง
บ้านเมือง ศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรมให้เจริญรุ่งเรืองด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศได้มีชนชาติต่างศาสนาเข้า
มาค้าขายและเผยแพร่ศาสนามากเป็นพิเศษ เช่น ฮอลันดา อังกฤษ และฝรั่งเศส สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรง
ส่งราชทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ของฝรั่งเศส และทรงแต่งตั้งชาวกรีกผู้หนึ่งเป็นเจ้าพระยา
วิชาเยนทร์ มีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทรงสนพระทัยความเจริญอย่างยุโรป เช่น โปรดฯให้มีประปา
ที่พระราชวังลพบุรี คณะสอนศาสนาคริสต์ ก็ได้รับพระราชทานเสรีภาพละพระบรมราชานุเคราะห์ ให้เผยแพร่ศาสนา
คริสต์ได้อย่างกว้างขวาง โดยตั้งโรงพยาบาลรักษาคนไข้ และตั้งโรงเรียนสอนหนังสือแก่เด็กไทยควบคู่กับศาสนา
คริสต์ การเกี่ยวข้องกับฝรั่งเศสดังกล่าวมีส่วนทำให้คนไทยตื่นตัวกระตือรือร้นหันมาสนใจหนังสือไทยพุทธศาสนา
ของตนเองมากขึ้น หนังสือเรียนภาษาไทยเล่มแรก คือ จินดามณี ก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้

 ๑.ความเจริญของบ้านเมือง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงเป็นกษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถและทรงชุบเลี้ยง
ข้าราชกาลที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่าง ๆ เช่น นักรบ นักการทูต และสถาปนิก ทั้งที่เป็นคนไทยและชาว
ต่างประเทศ เมื่อบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า สมบูรณ์พูนสุขประกอบกับความสนพระทัยในทางวรรณคดีเป็นพิเศษ
ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  วรรณคดีอย่างยิ่งขึ้นไปด้วย
 ๒.ความตื่นตัวของคนไทย ในรัชกาลนี้ยุโรปเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์เป็นอันมากคนไทยจึงต้องมาตื่นตัวหันมา
สนใจศึกษาภาษาและศาสนาของตนเอง



 กวีและวรรณคดีที่สำคัญ ก่อนยุคแห่งวรรณคดี

                       ๑. สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
                                -  กาพย์มหาชาติ
 กวีและวรรณคดีที่สำคัญ ยุคทองแห่งวรรณคดี
                       ๑.  พระมหาราชครู
                                -  เสือโคคำฉันท์
                                -  สมุทรโฆษคำฉันท์(ต้อนต้น)
                       ๒.  สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                               -   สมุทรโฆษคำฉันท์(ต่อจากของพระมหาราชครู)
                               -  โคลงพาลีสอนน้อง
                               -  โคลงทศรถสอนพระราม
                               -  โคลงราชสวัสดิ์
                        ๓. พระโหราธิบดี
                               -  จินดามณี
                               -  พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา(ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ)
                         ๔. ศรีปราชญ์
                               -  อนิรุทธ์คำฉันท์
                               -  โคลงเบ็ดเตล็ด
                         ๕. พระศรีมโหสถ
                               -  กาพย์ห่อโคลง
                               -  โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
                               -  โคลงอักษรสาม
                               -  โคลงนิราศนครสวรรค์
                          ๖. ขุนเทพกวี
                               -  ฉันท์ดุษฏีสังเวยกล่อมช้าง

----------------------------------------------------------------------------------------------

๑.กาพย์มหาชาติ

 ผู้แต่งสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ทรงพระนามเดิมว่า พระศรีศิลป์ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเอกาทศรถ ก่อน
ได้ราชสมบัติผนวชอยู่วัดระฆัง ๘ พรรษา ได้สมณศักดิ์เป็นพระพิมลธรรม มีสมัครพรรคพวกมาก แย่งราชสมบัต
ิแล้วปลงพระชนมเจ้าฟ้าศรีเสาวภาคย์ ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาได้ปราบดาภิเษกเป็นกษัตริยเมื่อ พ.ศ.๒๑๖๓ อยู่ในราชสมบัติ ๘ ปี

 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงใฝ่พระทัยในพระพุทธศาสนา รับสั่งให้ค้นหาพระพุทธบาทจนพบที่ไหล่เขาเขตเมือง
สระบุรีและโปรดเกล้าฯ ให้สร้างมณฑปสวมรอยพระพุทธบาทนั้นไว้ นอกจากนี้ยังได้พระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติ

 ประวัติ พระพงศาวดารยืนยันว่าสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมทรงพระราชนิพนธ์ "พระมหาชาติคำหลวง"เมื่อ จ.ศ.๙๘๙
 พ.ศ.๒๑๗๐ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาราชนุภาพทรงสันนิษฐานว่า หมายถึงกาพย์มหาชาติ แต่ต้น
ฉบับที่เหลือตกทอดมาไม่ครบทุกกัณฑ์

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยร่ายยาว มีคาถาบาลีแทรกเป็นตอน ๆ เพื่อให้ฟังเรื่องติดต่อกันได้สะดวก

 ความมุ่งหมาย ใช้เทศน์ให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง

 เรื่องย่อ เช่นเดียวกับมหาชาติคำหลวง
 กาพย์มหาชาติมีทำนองแตกต่างกับมหาชาติคำหลวง คือ ใช้ คำประพันธ์ประเภทร่ายยาวอย่างเดียว และวิธี
แปลภาษาบาลีแตกต่างกันคือ มหาชาติยกคาถาบาลีมาวรรคหนึ่งแล้วแปลเป็นภาษาไทยวรรคหนึ่ง สลับกันไป 
แต่กาพย์มหาชาติยกคาถาไว้ตอนหนึ่ง แล้วจึงแปลภาษาไทยให้เนื้อความติดต่อกันยาว ๆ เพื่อฟังเข้าใจได้สะดวก
 ถ้อยคำสำนวนที่ใช้เรียบเรียงมหาชาติเป็นภาษาง่าย ๆ ไม่สู้มีศัพท์โบราณ แต่อย่างไรก็ดี กาพย์มหาชาติยังม
ีเนื้อความยืดยาวเกินไป ไม่อาจเทศน์ในวันเดียวกัน จึงเป็นการขัดกับความเชื่อของผู้ฟัง ซึ่งเชื่อว่าจะต้องฟังให้จบ
ในวันเดียว จึงจะได้อานิสงส์แรง เกิดทัศนศาสนาพระศรีอริย์ เป็นเหตุให้กาพยมหาชาติเสื่อมความนิยมไป ต่อจาก
นั้นจึงมีการแต่งมหาชาตสำหรับเทศน์ให้จบใน ๑ วัน ขึ้นใหม่อีกหลายสำนวน ตามเรียกกันว่า"มหาชาติกลอนเทศน์"

ตัวอย่างข้อความบางตอน
ตอนชูชกต่อว่าพระเวสสันดรเมื่อไม่พบสองกุมาร
 โภ เวส์สัน์ดร ดูกรมหาเวสสันดรดาบสผู้ทรงพรตพฤธี นามชื่อว่าฤาษีย่อมทรงสัตว์ ให้ม้วยมุดเป็นบรมรรถไม่มุสา
 นี้มาเสียซึ่งสัจจาไม่จริง เดิมดูนี้เห็นเป็นยวดยิ่ง จะขกยอดพระบารมี มาตรออกปากขอพระชาลีกัณหา ก็ให้โดย
ปรีดาโดยด่วน แล้วเชิญชวนให้ข้าท่าท้วงนาง ครั้นขัดขวาง ก็ยอยกยุให้ไปยังยังพระเจ้าปู่งดงามงงเป็นพะวงพะวัก
แล้วลอบลักดูหน้า ให้คิ้วตาเตือนพระลูกน้อย เธอทำเชิงเฉยเมยเป็นไม่รู้เห็น ตกจะล่วงกันเล่น พบให้เลื่อยฦาฉนี้
ฦาประการใดในโลกนี้ที่จะกล่าวมุสาวาทีเทียมเท่า ถึงพระเวสสันดรเจ้าองค์นี้ก็เป็นว่ามิได้แล้วแล

----------------------------------------------------------------------------------------------

๒.เสือโคคำฉันท์

 ผู้แต่ง พระมหาราชครู สันนิษฐานว่ามีเชื้อสายพราหมณ์เป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแด่สมเด็จพระนารายณ์
มหาราช อาจดำรงตำแหน่งพระมหาราชครูฝ่ายลูกขุน ณ.ศาลาหลวงหรือพระมหาราช

 ประวัติ สันนิษฐานว่าแต่งก่อนสมุทรโฆษคำฉันท์ โดยนำเค้าเรื่องมาจากปัญญาชาดก

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยฉันท์และกาพย์ แต่มีจำนวนฉันท์และกาพย์น้อยชนิดกว่าสมุทรโฆษคำฉันท์

 ความมุ่งหมาย เพื่อสอนคติธรรม

 เรื่องย่อ เริ่มต้นกล่าวสรรเสริญคุณเทวดา กษัตริย์ และพระรัตนตรัย แล้งดำเนินเรื่องว่าเสือแม่ลูกอ่อนและโคนม
แม่ลูกอ่อนอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งแม่เสือออกไปหาอาหาร ลูกโคสงสารจึงบอกแม่ให้นมแก่ลูกเสือ ลูกเสือและลูก
โคจึงเริ่มรักกันอย่างพี่น้อง แม่เสือสาบานว่าจะไม่ทำลูกโค แต่แม่เสือไม่รักษาคำสัตย์กินแม่โคเสีย ลูกเสือและลูกโค
จึงช่วยกันประหารแม่เสือ แล้วชวนกันไปหากินจนพบพระฤาษีพระฤาษีเมตตาชุบให้เป็นคน ลูกเสือเป็นพี่ได้ชื่อว่า 
พหลวิไชย ลูกโคเป็นน้องชื่อว่าคาวี พระฤาษีอวยพรและมอบพระขรรค์วิเศษให้ ทั้งสองจึงลาฤาษีไปเมืองมคธ 
พระคาวีได้ฆ่ายักษ์ที่คอยทำร้ายชาวเมืองนั้นตาย ได้นางสุรสุดา ราชธิดาท้าวมคธ แต่พระคาวีถวายแด่พระพี่ชาย
แล้วออกเดินทางต่อ ไป ต่างฝ่ายต่างเสี่ยงบัวคนละดอก เมื่อไปถึงดมืองร้างเมืองหนึ่งพบกลองใหญ่ตีไม่ดัง ผ่าดูพบ
นางจันทราผู้ผมหอมธิดาท้าวมัทธราชและนางแก้วเกษร แห่งรมนคร ได้ทราบความจากนางว่านกอินทรีย์ใหญ่คู่หนึ่งบิน
มากินชาวเมืองตลอดจนพ่อแม่ นางรอกชีวิตได้ก็เพราะกลองใบนั้น พระคาวีปราบนกอินทรีด้วยพระขรรค์วิเศษและ
ได้นางจันทรเป็นชายา
 วันหนึ่งนางจันทรลงสรงในแม่น้ำ ใส่ผมหอมในอบแล้วลอยน้ำไป ท้าวยศภูมิ ผู้ครองเมืองพันธวิไสยเก็บได้ 
หลงใหลผมหอมนั้น นางทาสีอาสานำนางมาถวาย โดยออกอุบายลวงถามความลับเกี่ยวกับพระขรรค์จากนางจันทร
 ครั้นทราบว่าพระคาวีถอดพระชนม์ไว้ในพระขรรค์ จึงนำพระขรรค์ไปเผาไฟ พระคาวีสลบไป แล้วนางทาสีพา
นางจันทรไปถวายท้าวยศภูมิ  แต่ไม่อาจเข้าใกล้นางได้เพราะร้อนเป็นไฟ ด้วยอำนาจความภักดีที่มีตอพระคาวี
 เมื่อพระพหลวิไชยเห็นบัวอธิฐานเหี่ยวลงเป็นลางร้ายจึงตามหาร่างพระคาวี และพบพระขรรค์ในกองไฟ มาชำระล้าง
วางบนองค์พระคาวี พระคาวีพื้นขึ้นแล้ว พากันออกตามหานาวจันทรถึงเมืองท้าวยศภูมิ พระพหลวิไชยแปลงเป็น
พระฤาษีอาสาชุบท้าวยศภูมิให้เป็นหนุ่มแล้วฆ่าเสียเอาพระคาวีออกมาแทนอ้างว่าชุบตัวเป็นหนุ่มได้สำเร็จ พระคาวีได้
อภิเษกสมรสกับนางจันทรและได้ครองเมืองพันธไสยสืบมา
 เสือโคคำฉันท์เป็นหนังสือประเภทฉันท์เรื่องแรกที่จบสมบูรณ์ ชนิดของฉันท์ที่ใช้แต่งไม่มีมากและโคลงไม่เคร่งครัด
ตามแผนบังคับ นอกจากนี้มีกาพย์ชนิดต่าง ๆ  แต่งอยู่ด้วย ถ้อยคำสำนวนเข้าใจง่ายกว่าสมุทรโฆษคำฉันท์ เรื่องนี้
ได้ต้นเค้ามาจากปัญญาสชาดก แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการกลับมาของบุคคลในเรื่องอย่างชาดก ต่อมาในรัตนโกสินทร
์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องคาวีเรื่งเสือโคคำฉันท์นี้

------------------------------------------------------------------------------------------------

๓.สมุทรโฆษคำฉันท์

 ผู้แต่ง พระมหาราชครู สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส

 ประวัติ สมุทรโฆษคำฉันท์เกิดขึ้นโดยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชรับสั่งให้พระมหาราชครูแต่ง
ขึ้นเพื่อใช้เล่นหนังใหญ่ ในคราวเฉลิมพระเกียรติพระชนมพรรษาครบเบญจเพส เมื่อ พ.ศ.๒๐๙๙ พระมหาราชครู
แต่งไม่ทันจบก็ถึงแก่อนิจกรรมเสียก่อน แต่งไกได้เพียง "พระเสด็จด้วยน้อง ลิลาศ ลุอาศรมอาส นเทพบุตรอัน
บล"เป็นตอนพระสมุทรโฆษ และนางพินทุมดีเสด็จไปแก้บนพระนานายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ต่อมาก็ไม่จบอีก
 ทรงเริ่มต้นตั้งแต่ "พิศพระกุฏีอา ศรมสถานตระการกล"และยุติลงเพียง "ตนกูตายก็จะตายผู้เดี่ยวใครจะดูแล 
โอ้แก้วกับตนกู ฤเห็น "ซึ่งเป็นคำคร่ำครวญของพิทยธรชื่อรณาภิมุข ที่บาดเจ็บเพราะถูกอาวุธของพิทธยาชื่อรณบุตร 
เรื่องนี้จึงค้างอยู่อีกครั้งหนึ้ง ส่วนในตอนจบเป็นพระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯทรงนิพนธ์เสร็จเมื่อ พ.ศ.
๒๓๘๓ ตามคำอาราธนาของกรมหลวสงไกสรวิชิต และกรมหลวงวงศาธิราชสนิทเริ่มตั้งแต่ "พิทยาธรทุกข์ลำเค็ญ
 ครวญคร่ำร่ำเข็ญ บรู้กี่ส่ำแสนศัลย์

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยกาพย์และฉันท์ ตอนจบเป็นโคลงสี่สุภาพ ๔ บท

 ความมุ่งหมาย พระราชประสงค์เดิมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่รับสั่งให้แต่งเรื่องสมุทรโฆษคำฉันท์เพื่อใช้
เล่นหนัง เมื่อครั้งฉลองพระชนมายุครบเบญจเพสการที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ก็เพราะทรง
เสียดายที่หนังสือซึ่งเริ่มต้นแต่งไว้ดีแล้วต้องค้างอยู่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ  ทรงแต่งไว้ให้จบก็เพราะเหตุผลที่ว่า
 " โดยมุมานะหฤทัย อดสูดูไขษย กวีฤาแล้งแหล่งสยาม"

 เรื่องย่อ พระพุทธเจ้าเสวยพระราชเป็นพระสมุทรโฆษ โอรสท้าวพินทุทัต กับนางเทพธิดาแห่งเมืองพรหมบุรี มี
พระชายาทรงพระนามว่า นางสุรสุดา พระสมุทรโฆษตรัสลาพระบิดาพรพระมารดาและพระชายาเสด็จประพาสป่าเพื่อ
คล้องช้าง ขณะพระสมุทรโฆษประทับที่ต้นโพธิ์ ได้ตรัสสดุดีและขอพรเทพารักษ์ แล้วบรรทมหลับไป เทพรารักษ์
ทรงพระเมตตาพาไปอุ้มสมนางพินทุมดี  พระราชธิดาท้าวสีหนรคุปต์กับนางกนกพดี แห่งรมยบุรี จวนสว่างจึงทรงนำ
กลับมาไว้ที่เดิม พระสมุทรโฆษกับนางพินทุมดีทรงครวฯถึงกัน พอดีท้าวสีหนครุปต์ ทรงประกาศพิธีสยุมพรนาง
พิมทุมดี  พระสมุทรโฆษจึงเสด็จเข้าเมืองรมยบุรี พระสมุทรโฆษทรงประลองศรมีชัยในพิธีสยุพร ได้อภิเษกสมรส
กับนางพิมทุมดี
 วันหนึ่งพระสมุทรโฆษเสด็จประพาสสวน ทรงเมตตาพยาบาลรณาภิมุขซึ่งถูกรณบุตรพิทยาธรอีกตนหนึ่งทำร้ายบาด
เจ็บเพราะแย่งนางนารีผลกัน และถูกชิงนางไป รณาภิมูขถวายพระขรรค์วิเศษเป็นการตอบแทน พระสมุทรโฆษทรง
ใช้พระขรรค์นั้นพานางทิมทุมดีเหาะเสด็จประพาสป่าหิมพานต์ ต่อมาพิทยาธรอีกตนหนึ่งลักพระขรรค์ไป พระสมุทร
โฆษทรงพานางเสโจประพาสโดยพระบาทกลับเมือง ทรงข้ามแม่น้ำใหญ่โดยเกาะขอนไม้และเกิดพังกลางแม่น้ำ 
นางพิมทุมดีทรงขึ้นฝั่งได้ นางมณีเมฆขลาและพระอินทร์ช่วยให้พระสมุทรโฆษขึ้นฝั่งและให้พิทยาธรนำพระขรรค์วิเศษ
มาคืน พระสมุทรโฆษทรงตามหานางพิมทุมดีจนพบ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จกลับเมือง และได้รับเวนราชสมยัติ 
 สมุทรโฆษคำฉันท์ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ ๖ ว่า เป็นยอดแห่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ 
ทั้งนี้นอกจากความไพเราะเพราะพริ้งของฉันท์แต่ละบทแล้ว ยังประกอบด้วยรสวรรณคดีครบถ้วน เช่น บทโคลงลา
นาง บทรำพันสวาท บาสังวาส บทรบ บทโศก บทชมบ้านเมือง บทชมธรรมชาติ บทชมกระบวนทัพ และแทรก
คติธรรมไว้ด้วย เช่น ความรักอันมั่งคง ความเมตตากรุณา และความเพียร เป็นต้น สมุทรโฆษคำฉันท์มีประวัติ
ความเป็นมาน่าอัศจรรย์นัก ที่ต้องใช้กวีแต่งต่อเนื่องกัน ๓ ท่าน และใช้เวลาถึง ๓ แผ่นดิน คือ ตั้งแต่ 
กรุงศรีอยุธยา มาเสร็จลงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กวีทั้งสามไม่ได้ร่วมแต่งพร้อมกัน แต่งต่อช่วงกัน แต่สามารถรักษา
ระดับรสกวีนิพนธ์ไว้เท่าเทียนและกลมกลืนกันไว้สนิท
 สมุทรโฆษคำฉันท์ดำเนินเรื่องตามสมุทรโฆษชาดก ซึ่งเป็นชาดกทางพุทธศาสนาเรื่องหนึ่ง ในปัญญาสชาดก(ชาดก
 ๕๐ เรื่อง )ตอนที่พระมหาราชครู และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงแต่งมีเรื่องแทรกผิดแผกไปจากชาดกบ้าง 
เช่น กำหนดให้พระสมุทรโฆษมีชายา คือ นางสุรสุดาอยู่ก่อนจึงไปหานางพิมทุมดี บทอุ้มสม และสงครามชิงนาง
พิมทุมดี เหตุการณ์กล่าวไม่ปรากฏในชาดก ส่วนที่สมเด็จพระมาสมณเจ้าฯทรงนิพนธ์เป็นไปตามชาดกอย่างใกล้ชิด
 ในด้านภาษาเป็นที่เป็นของพระมหาสมณเจ้าฯ ใช้คำบาลีมากว่าคำสันสกฤต

 วรรณคดีเรื่องนีแสดงให้เห็นว่าเล่นหนังใหญ่ในสมัยกรุงศรีอยธยา ไม่จำกัดต้องเล่นเฉพาะเรื่องรามเกียรติ์อย่างสมัย
ต่อมา นอกจากนี้ก่อนเริ่มเรื่องหนัง ยังมีการเล่นเบิงโรงต่าง ๆ เช่น หัวล้านชนกัน 
-------------------------------------------------------------------------------------------

๔.โคลงพาลีสอนน้อง

 ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 ทำนองแต่ง ใช้โคลงสี่สุภาพ มีโคลงทั้งหมด ๓๒ บท

 ความมุ่งหมาย เพื่อใช้เรื่องรามเกียรติ์เปรียบเทียบในการอบรมสั่งสอนข้าราชการ

 เรื่องย่อ เริ่มเรื่องว่า พาลีเจ้าเมืองขีดเขิน เมื่อใกล้จะถึงความตายด้วยศรของพระราม เกิดสำนึกผิดในความประพฤติที่แล้วมาของตน ได้เรียกสุครีพน้องร่วมมารดาและองคตลูกชายมาสั่งสอนข้อปฏิบัติในการที่จะรับราชการอยู่กับพระราม

 โคลงพาลีสอนน้อง แสดงค่านิยมของสังคมไทยในเวลานั้น และแสดงอิทธิพลของเรื่องรามยณธหรือรามเกียรติ์ที่มีต่อสังคมไทยอีกด้วย

------------------------------------------------------------------------------------------------

๕.โคลงทศรถสอนพระราม

 ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 ทำนองแต่ง โคลงสื่สุภาพ

 เรื่องย่อ เริ่มต้นกล่าวถึง ท้าวทศรถตรัสเรียกพระรามมาพระราชทานโอวาท เมื่อจะทรงมอบบ้านเมืองให้ครอง มี
สาระสำคัญเกี่ยวเมตตา กรุณา อกุศลมูล ได้แก่ โทสะ โมหะ โลภะ อวิหิงสา และขันติ เป็นต้น
 โคลงทศรถสอนพระรามใช้คำศัพท์และโวหารใหม่กว่าวรรณคดี ซึ่งแต่งในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น
เดียวกับโคลงพาลีสอนน้อง โคลงเรื่องนี้แสดงให้เห็นความนิยมเรื่องรามเกียรติ์เหมือนโคลงพาลีสอนน้อง

------------------------------------------------------------------------------------------------

๖.โคลงราชสวัสดิ์

 ผู้แต่ง สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

 ทำนองแต่ง  เป็นโคลงสี่สุภาพ มีทั้งหมด ๖๓ บท

 ความมุ่งหมาย เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติตนของข้าราชการผู้ใหญ่

 เรื่องย่อ มีใจความสอนข้อปฏิบัติแก่ข้าราชการ

 โคลงราชสวัสดิ์มีเนื้อความคล้ายกับโคลงพาลีสอนน้อง แต่ละเอียดพิสดาร มีส่วนดีในด้านคติธรรม สอนความ
ประพฤติ

------------------------------------------------------------------------------------------------

๗.จินดามณี

 ผู้แต่ง พระโหราธบดี รับราชการในหน้าที่โหรหลวงอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตำนานศรีปราชญ์ที่พระนาปริยัติธรรมธาดา 
แต่งกล่าวพระโหราธิบดีเป็นบิดาของศรีปราชญ์ สันนิษฐานว่าอาจถึงกรรมก่อน พ.ศ.๒๒๒๓ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระ
นารายณ์มหาราชรับสั่งให้รวบรวมชำระกฎหมายเหตุ ซึ่งท่านแต่งไว้เข้ากับฉบับอื่น ๆ เรียกชื่อต่อมาว่า "พระราช
พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ"

 ประวัติ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชพวกมิชชั่นนารีฝรั่งกำลังเข้าเผยแพร่ศาสนาคริสต์และวิชาการอย่างฝั่ง
 จนถึงการตั้งโรงเรียนสอนเด็กไทย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเกรงว่าคนไทยจะหันไปนิยมอย่างฝรั่ง จึงรับสั่งให้
พระโหราธิบดีแต่งจินดามณีขึ้นเพื่อจะสอนคนไทยมีแบบเรียนเป็นของตนเอง และรู้วิชาอย่างไทย ๆ ไม่หันแหไป
ฝักใฝ่ข้างฝรั่ง

 ทำนองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว บางตอนเป็นคำประพันธ์ประเภทต่าง ๆ 

 ความมุ่งหมาย เพื่อใช้เป็นแบบเรียนอ่านให้มีความรู้ทางหลักภาษาแลการแต่งคำประพันธ์

 เรื่องย่อ ต้อนต้นกล่าวถึงคำและข้อความสำหรับอ่าน เป็นความรู้ทางหลักภาษา ตอนท้ายเป็นกฎเกณฑ์การแต่ง
คำประพันธ์ และตัวอย่างคำประพันธ์ชนิดต่าง ๆ 

 ตัวอย่างข้อความบางตอน
การแต่งฉันท์
 หมู่ใดในคณะ   เปนคู่อย่าละ   กาพย์โคลงโวหาร
บทฉันทใดฉงน  สืบถามอย่านาน จู่ลู่ใช่การ ลิกขิตเกี้ยวพันธ์
 บทหนึ่งวสันตดิลก  คู่ฉันทโตฎก   กาพย์มังกรพันธ์
บทอินทรวิเชียร  คู่อาริยฉันท ผูกไว้ทุกสรรพ์  ทุกพรรรณเกี้ยวการณ์
การแต่งโคลง
 อนึ่งเมื่อจทำโคลงสิ่งใดที่ให้เอาคติโคลงนั้น มาเทียบด้วยฉันท์ ให้รู้จักพากยทังหลาย คือ ตลุมพุธพากย 
กำภุพากย์ สยามพากย สิงหลพากย ภุกามพากย หริภุญไชยพากย ตเลงพากย มคธพากย ได้เอาศัพท
ทังหลายนี้ประกอบประโหยกหน้า หลัง จึงต้งงให้อยู่ภาวรเป็นประถมบท ทวิบทตฤติยบท ในบทนั้นโสดต้งงใน
อยู่สถารอักษรนั้น 

 จินดามณีเป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรก สำนวนภาษาที่เข้าใจได้ยาก มีคำอธิบายเพียงสั้น ๆ แต่ก็นับว่ามี
ความสำคัญต่อการศึกษาภาษาไทยเป็นเวลาช้านาน ได้ใช้เป็นหนังสือเรียนมาจนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ แห่ง
กรุงรัตนโกสินทร์ ถึงแม้ต่อมาจะมีแบบเรียนเรื่อง ๆ เกิดขึ้น เช่น จินดามร๊สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 
จินดามณีของกรมหลวงวงศาธิราชสนิท ในรัชการที่ ๓ และมูลบทบรรพกิจในรัชการที่ ๕ ล้วนได้แนวคิดใน
การแต่งไปจากจินดามณีของพระโหราธิปดีทั้งสิ้น ภาคที่ว่าด้วยฉันท์ลักษณ์ ได้ยกตัวอย่างมาจากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาก่อน ทำให้ทราบอายุของวรรณคดีเรื่องนั้น ๆ ว่าแต่งก่อนจินดามณี เช่น ยกกาพย์ยานีมาจากมหาชาติคำหลวง แต่ใช้แตกต่างกันไปบ้าง ดังนี้
 จินดามณี
 ครั้นเช้าก็หิ้วเช้า  ชายป่าเต้าไปตามชาย
ลูกไม้จึ่งครันงาย   จำงายราชอดยืน
 เปนใดจึงมาค่ำ  อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน
เห็นกูนี้โหดหืน   มาดูแคลนนี้เพื่อใด
 มหาชาติคำหลวง
คร้นนเช้ากหืวกนนเช้า  ชายป่าเต้าไปหาชาย
ลูกไม้บทนนงาย   จำงายราชอดยืน  เเม่ฮา
 คิดใดคืนมาค่ำ  อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน
เพราะเห็นกูดหดหืน   เเลดูเเคลนกูกลใด  ด่งงนี้
เเละยกโคลงจากลิลิตพระลอมาประกอบคำอธิบายการเเต่งโคลงสี่สุภาพ คือ
 เสียงฦาเสีองเล่าอ้าง  อันใดพี่เอย
เสีองย่อมยอยศใคร   ทั่วหล้า
 สองเขือพี่หลับใหล  ลืมตืนฦาพี่
สองพี่คิดเองอ้า   อย่าได้ถามเผือ

--------------------------------------------------------------------------------------------

๘.พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา(ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ)

           ผู้เเต่ง พระโหราธิบดี
           
           ประวัติ    พระยาปริยัติธรรมธาดา(แพ ตาละลักษณ์)เมื่อครั้งเป็นหลวงประเสริฐอักษรนิติได้ต้น
ฉบับพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เป็นสมุดไทยตัวเขียนเก่ากึงสมัยกรุงศรีอยุธยา มาจากบ้านราษฏรแห่งหนึ่งที่จังหวัด
เพรชบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ ได้นำขึ้นถงายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชนุภาพ จึงทรงเรียก
พงศาวดารนี้ว่า "พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ"เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ไปพบ 

พงศาวดารฉบับนี้เรียบเรียง เมื่อ จ.ศ.๑๐๔๒ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
           
            ทำนองแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว ลำดับศักราชและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคลายบันทึกโหร
ความมุ่งหมาย เรียบเรียงโดยพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อรวบรวมจดหมายเหตุในที่ต่าง ๆ
 และพระราชพงศาวดารเข้าด้วยกันตามลำดับศักราช
เรื่องย่อ เริ่มต้นเป็นบานแผนก บอกปีที่เรียบเรียง ผู้รับสั่งให้เรียบเรียง ตลอดจนความมุ่งหมายแล้วกล่าวถึงเหตุการณ์
ตั้งแต่  "จ.ศ. ๖๘๖ ชวดศก แรกสถาปนาพระพุทธเจ้าพแนงเชิง" ซึ่งเป็นปีที่สร้างพระพุทธรูปวัดพนัญเชิง จนถึง
จ.ศ.๙๖๕๖ มะโรงศกวันเสด็จพยุหยาตรา จากป่าโมก โดยทางชลมารค และฟันไม่ข่มนามตำบลเอกราช ตั้งทัพ
ไชยตำลบพระหล่อ วันนั้นเป็นวันอนุและเป็นวันสงกรานต์ พระเสาร์ไปราศีธนูอนองษาหนึ่ง ครั้งนั้นเสด็จพระราช
ดำเนินถึงเมืองหลวงตำลบทุ่งแก้ว  ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระนเรศรวมหาราชทรงยกทัพไปตีพม่าและสวรรคตทีเมืองห้าง
พลาง

โคลงหริภุญชัย



๗.โคลงหริภุญชัย

 ผู้แต่งสันนิษฐานทีผู้แต่งคนหนึ่ง อาจชื่อทิพแต่งไว้เป็นภาษาไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดออกมาเป็นภาษาไทยกลาง
อีกตอนหนึ่ง

 ประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่าอาจเป็นประมาน พ.ศ.๒๑๘๐
 หรือก่อนหน้านั้นขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะที่พระพุทธสิหิงค์ยังประดิษฐานอยู่ที่เชียงใหม่ราวศักราชสมเด็จพระเจ้าปราสาท
ทอง และกวีทางใต้คงนำมาดัดแปลงราวศักราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร 
ได้ศึกษาโคลงเรื่องนี้โดยเทียบกับต้นฉบับภาษาไทยเหนือที่เชียงใหม่และลงความว่าจะแต่งขึ้นในสมัย พ.ศ.๒๐๖๐ 
ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเวลาที่พระแก้วมรกตยังอยู่ที่เจดีย์เชียงใหม่ เนื่องจากนิราศเรื่องนี้
ี้กล่าวถึงพระแก้วมรกตไว้ด้วย

 ทำนองแต่ง เดิมแต่งไว้เป็นโคลงไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดเป็นโคลงสุภาพ

  ความมุ่งหมาย ผู้แต่งมีความมุ่งหมายเพื่อบรรยายความรู้สึกที่ต้องจากหญิงรักไปนมัสการพระธาตุหริภญชัย ที่เมือง
หริภุญชัย(ลำพูน)ก่อนออกเดินทางไปนมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ขอพระพระมังราชหรือ พระมังรายซึ่งสถิต ณ ศาลา
เทพารักษ์ นมัสการลาพระแก้วมรกต เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใดก็พรรณาคร่ำครวญรำพันรักไปตลอด จนถึง
เมืองหริภุญชัยได้นมัสการพระธาตุ สมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งานสมโภชพระธาตุ ตอนสุดท้ายลาพระธาตุกลับ
เชียงใหม่

 นอกจากนี้วรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานยืนยันถึงที่ตั้งปูชนียสถาน และโบราณวัตถุที่เชียงใหม่และลำพูน กล่าวถึง
การเล่นมหรสพต่างๆ ในสมัยโบราณ และวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น สุธนู สมุทรโฆษ  พระรถเมรี เป็นต้น
 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญขอ งโคลงหริภุญชัย ไว้ใน
ฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๔๖๗ ว่า "อาจเป็นต้นแบบอย่างของนิราศที่แต่งเป็นโคลงและกลอนกันในกรุงศรีอยุธยาตลอดมา
จนกรุงรัตนโกสินทร์ ถ้ามิได้เป็นแบบอย่างก็เป็นนิราศชั้นเก่าที่สุด"

ป้ายกำกับ:

โคลงทวาทศมาส



๖.โคลงทวาทศมาส

 ผู้แต่ง พระเยาวราช ขุนพรมมนตรี ขุนกวีราช ขุนสารประเสริฐ

 ประวัติ หนังสือนี้มีการสันนิษฐานผู้แต่งต่างกันไป เช่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 
ทรงสันนิษฐานว่าผู้แต่ง คือ ขุนศรีกวีราช ขุนพรหมมนตรี และขุนสารประเสริฐ บางท่านว่า พระเยาวราช 
ทรงนิพนธ์ ที่เหลือช่วยแก้ไข ส่วนพระยาตรังคภูมิบาล และนายนรินทรธิเบศร กล่าวแต่เพียงสามคนร่วมกันแต่ง

 ทำนองแต่ง โคลงดั้นวิริธมาลี

 ความมุ่งหมาย มีผู้สันนิษฐานว่าคงแต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน มิได้จากนางจริงโดยสมมติเหตุการณ์
ขึ้น

 เรื่องย่อ โคลงเรื่องนี้ได้ชื่อว่าทวาทศมาส เพราะพรรณนาถึงความรักความอาลัยรัก และพิธีกรรมต่าง ๆ ในรอบ
สิบเดือน ทวาทศมาสแปลว่าสิบสองเดือน ตอนต้นสรรเสริญเทพเจ้า และพระเจ้าแผ่นดิน ชมความงามของนางที่ต้อง
จากมา กล่าวถึงบุคคลในวรรณคดี เช่น พระอนิรุทธ์ พระสมุทรโฆษ พระสุธนู พระสูตรธนู แล้วแสดงความน้อยใจ
ที่ตนไม่อาจไปอยู่ร่วมกับนางอีกอย่างบุคคลเหล่านั้น ตอนต่อไปนำเหตุการณ์ต่าง ๆ และลมฟ้าอากาศในรอบปีหนึ่งๆ 
ตั้งแต่เดือน ๕ ถึง เดือน ๔ มาพรรณนา เดือนใดมีพิธีอะไรก็นำมากล่าวไว้ละเอียดละออ เช่น เดือนสิบเอ็ดมีพิธี
อาศวยุช เดือนสิบสองมีพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป เดือนยี่ประกอบพิธีตรียัมปวาย และเดือนสี่กระทำพิธีตรุษ 
เป็นต้น ต่อจากนั้นถามข่าวคราวของนางจาก ปี เดือน วัน และยาม ขอพระเทพเจ้าให้ได้พบนาง ตอนสุดท้ายกล่าว
สรรเสริญพระบารมีพระเจ้าแผ่นดิน

  วรรณคดีเรื่องนี้ นอกจากประกอบด้วยรสกวีนิพนธ์ดังกล่าวมาแล้ว ยังให้ความรู้เกี่ยวกับขนบประเพณี และสภาพ
ความเป็นอยู่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างละเอียดแจ่มแจ้ง โดยบรรยายสภาพดินฟ้าอากาศและกิจพิธีต่าง ๆ ในแต่ละ
เดือน นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น รามเกียรติ์ อนิรุทธ์ สมุทรโฆษ สุธน สูธนู เป็นต้น

---------------------------------------------------------------------------------------------

ป้ายกำกับ:

โึคลงกำสรวล



๕.โคลงกำสรวล

 ผู้แต่ง เคยเชื่อกันมาแต่เดิมว่าศีปราชญ์ผู้แต่งโคลงกำสรวลถูกเนรเทศไปนครศรีธรรมราช ในรัชกาลสมเด็จพระ
นารายณ์มหาราช และหญิงที่ศรีปราชญ์คร่ำครวญอาลัย คือ พระสนมศรีจุฬาลักษณ์ แต่มีผู้ออกความเห็นค้าน
ความเชื่อดังกล่าวว่าเรื่องโคลงกำสรวล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวถึงเส้นทางการเดินทางจาก
กรุงศรีอยุธยาไปสุดแค่จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ทั้งไม่ได้กล่าวถึงความทุกข์ร้อนและมูลที่ต้องเนรเทศ เมื่อพิจารณา
ถึงลักษณะคำประพันธ์และถ้อยคำสำนวนภาษาที่ใช้โคลงกำสรวลน่าจะแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยโคลงตั้งบาทกุญชร บทแรกเป็นร่ายดั้น มีร่าย ๑ บท โคลงดั้น ๑๒๙ บท

 ความมุ่งหมาย เพื่อแสดงความอาลัยคนรัก ซึ่งผู้แต่งต้องจากไป

 เรื่องย่อ เริ่มด้วยร่ายสดุดีกรุงศรีอยุธยาว่ารุ่งเรืองงดงาม เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา ราษฎร์สมบูรณ์พูนสุข 
ต่อจากนั้นกล่าวถึงการที่ต้องจากนาง แสดงความห่วงใย ไม่แน่ใจว่าควรจะฝากนางไว้กับผู้ใดเดินทางผ่านตำบลหนึ่ง ๆ ก็รำพันเปรียบเทียบชื่อตำบลเข้ากับความอาลัยที่มีต่อนาง ตำลบที่ผ่าน เช่น บางกะจะ เกาะเรียน ด่านขนอน บางทรนาง บางขดาน ย่านขวาง ราชคราม ทุ่งพญาเมือง ละเท เชิงราก  นอกจากนี้ได้นำบุคคลในวรรณคดีมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตของตน เกิดความทุกข์ระทมที่ยังไม่พบได้นางอีกอย่างบุคคลในวรรณคดีเหล่านั้น โดยกล่าวถึง พระรามกับนางสีดา พระสูตรธนู(สุธนู)กับนางจิราประภา และพระสมุทรโฆษกกับนางพิษทุมดีว่าต่างได้อยู่ร่วมกันอีก ภายหลังที่ต้องจากกันชั่วเวลาหนึ่ง การพรรณนาสถานที่สิ้นสุดลงโดยที่ไม่ถึงนครศรีธรรมราช

 ตัวอย่างข้อความบางตอน
ชมเมือง
 อยุธยายศยิ่งฟ้า  ลงดิน แลฤา
อำนาจบุญเพรงพระ   ก่อเกื้อ
เจดียลอออินทร   ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ   นอกโสม
 พรายพรายพระธาตุเจ้า  จยนจันทร์ แจ่มแฮ
ไตรโลกยเลงคือโคม   ค่ำเช้า
พิหารรบยงบรรพ   รุจิเรข เรืองเฮ
ทุกแห่งห้องพระเจ้า   น่งงเนือง

ฝากนาง
 โฉมแม่จกฝากน่านน้ำ  อรรณพ แลฤา
อินทรท่านทอดโฉมเอา   สู่ฟ้า
โฉมแม่จกฝากดิน   ดินท่าน แล้วแฮ
ดินฤาขดดเจ้าเหล้า   สู่สํสองสํ
 โฮมแม่ฝากน่านน้ำ  อรรณพ แลฤา
ยยวนาคเชอยชํอก   พี่ไหม้
โฉมแม่รำพึงจบ   ไตรโลก
โฉมแม่ใครสงวนได้   เท่าเจ้าสงวนเอง

 โคลงกำสรวลเป็นงานนิพนธ์เรื่องเอกของศรีปราชญ์ มีคุนค่าทางวรรณคดีอย่างยอดเยียมถ้อยคำสำนวนโวหาร
ที่คมคายจับใจ แสดงความเป็นต้นคิดหลายตอน ทำให้กวีรุ่นหลังพากันเลียมแบบอย่าง เช่น ตอนชนเมือง และ
ตอนฝากนาง นอกจากนี้ยังให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ บางเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ สมุทรโฆษ ในด้าน
ภาษา โคลงกำสรวลใช้คำที่เป็นภาษาโบราณ ภาษาถิ่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรอยู่มาก

 โคลงกำสรวลแสดงให้เห็นความวิจิตตระการของปราสาทราชวัง และวัดวาอารามของกรุงศรีอยุธยา ความเป็นอยู่
ของประชาชนในด้านการแต่งกาย อาหารการกิน การเล่นรื่นเริง และสภาพภูมิศาสตร์เส้นทางการเดินทางของกวี

---------------------------------------------------------------------------------------------

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
งานประชาสัมพันธ์ อาคารประชาสัมพันธ์ โรงเรียนชลราษฎรอำรุง โทรศัพท์ /Tel: 038 282078 Ext. 101 โทรสาร/Fax : 038 282079 e-mail: khwuanyuen@gmail.com; prcru101@gmail.com
ขับเคลื่อนโดย Blogger.