นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่สำคัญของยุคกรุงศรีอยุธยา


นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาที่สำคัญของยุคกรุงศรีอยุธยา
1.   จินดามณี
 
  หนังสือ จินดามณี นั้นมีหลายสำนวน จึงเป็นการยากที่จะระบุว่าผู้ใดเป็นผู้แต่งฉบับไหน แต่ในฉบับความพ้องนั้นส่วนใหญ่เป็นหนังสือจินดามณีที่พระโหราธิบดีแต่งถวายสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อครั้งอยู่สุโขทัย โดยแต่งให้เนื่องจากทรงได้เป็นเจ้าเมืองลพบุรี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ในบันทึกสมาคมวรรณคดี ปีที ๑ เล่ม ๕ พ.ศ. ๒๔๓๕ ว่า    "สมเด็จพระนารายณ์ทรงดำรัสสั่งให้พระโหราแต่งหนังสือ จินดามณี และหนังสือพระราชพงศาวดาร ด้วยว่าพวกบาทหลวงฝรั่งเศษเมื่อแรกเข้ามาสอน ศาสนาคริสต์ในพระนครศรีอยุธยานั้น ได้มาตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่เด็กไทยด้วย ดังนั้นพระนารายณ์ทรงเห็นว่าถ้าฝ่ายไทยไม่เอาเป็นธุระจัดบำรุงการศึกษาเล่าเรียนให้รุ่งเรือง ก็จะเสียเปรียบฝรั่งเศส คาดว่าพระโหรานั้นเป็นปราชญ์ที่มีชื่อเสียงอีกทั้งเชี่ยวชาญ พระองค์จึงมีรับสั่งให้พระโหราแต่งตำราถวาย
 2.   มหาชาติคำหลวง
 
  ประวัติ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่งและปีที่ แต่งมหาชาติคำหลวง ปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติ   คำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครอบ ๑๓ กัณฑ์ เมื่อจุลศักราช ๑๑๗๖ พุทธศักราช ๒๓๔๗ ได้แก่ กัณฑ์ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์
          ทำนองแต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่อง มหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง
3.   กาพย์มหาชาติ
              
เนื้อหาของกาพย์มหาชาตินั้น เป็นการเล่าเรื่องมหาชาติ หรือเรื่องมหาเวสสันดรชาดกนั่นเอง เป็นการแต่งแบบที่เรียกว่า ยกคาถา กล่าวคือ ยกคาถาภาษาบาลีขึ้นมาประโยคหนึ่ง แล้วแต่งภาษาไทยเล่า สลับไปเป็นช่วงๆ จนจบ โดยใช้คำประพันธ์ที่เรียกว่าร่ายโบราณ หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ร่ายมหาชาติ เนื่องจากเป็นร้อยกรองที่แต่งไว้สำหรับการเทศน์เรื่องมหาชาตินั่นเอง แต่ละกัณฑ์ (ในกาพย์มหาชาติเรียกว่าบรรพ) มีความยาวไม่มาก
4.    สมุดไทย (สมุดข่อย )
             
แต่ก่อนคนไทยบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยสมุดไทย จากกระดาษสากระดาษข่อย แต่เท่าที่พบส่วนมากจะใช้กระดาษข่อย จึงเรียกสมุดข่อยจึงจะเป็นเรื่องราวเฉพาะของสมุดข่อยเท่านั้น  ลักษณะเด่นของสมุดข่อยคือเป็นแผ่นกระดาษพับทบไปทบมา เขียนได้ทั้ง ๒ หน้า เมื่อพับเก็บเป็นเส้นจะมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมยาวมีปกสมุด ซึ่งเราจะเห็นอยู่ส่วนบนและล่าง สมุดพวกนี้มักได้รับการเก็บรักษาในห่อผ้าผูกอย่างมิดชิด แล้วเก็บในตู้หรือหีบพระธรรม  ซึ่งอยู่ในหอไตร  อันล้อมรอบด้วยน้ำอีกชั้นหนึ่ง จึงเห็นได้ว่าคนโบราณเก็บรักษาสมุดข่อยไว้อย่างรัดกุม เรียบร้อย แหล่งสมุดข่อยมักอยู่ตามวัด เพราะวัดได้ชื่อว่าเป็นสถาบันการศึกษาของคนไทยแต่ก่อน  แต่ปัจจุบันสมุดข่อยค่อย ๆ สูญหายหรือถูกทำลายไปจากผู้ที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือผู้เห็นแก่ได้  ศัตรูสำคัญของสมุดข่อย นอกจากร้านค้าของเก่าแล้ว ก็คือบรรดาหมอแผนโบราณ   ที่มักเอาสมุดข่อยมาเผาทำยาด้วย
5.   ใบลาน
               ต้นลาน
ใบลาน หรือ คัมภีร์ใบลาน หรือ หนังสือใบลาน เป็นเอกสารโบราณประเภทหนึ่ง ทำมาจากต้นลาน การบันทึกตัวอักษรลงในใบลานเรียกว่า จาร การทำใบลานเป็นเล่มนั้นต้องเจาะรูแล้วเอาเชือกร้อย เชือกที่ใช้ร้อยเรียกว่า สายสนอง ถ้าไม่ใช้เชือกก็อาจใช้เส้นผมมาถักร้อยก็ได้ สมัยก่อนถือเป็นสิริมงคล เมื่อร้อยผูกรวมกันแล้วเรียกว่าคัมภีร์ใบลานหนึ่งผูก ไม่เรียกเป็นเป็นเล่มเหมือนกระดาษ และอาจใช้ไม้ประกับเป็นปกหน้า ปกหลัง เพิ่มความแข็งแรงและความสวยงามของคัมภีร์ ไม้ประกับมักทำลวดลายและมีสีสันสวยงามเพิ่มคุณค่าแก่หนังสือใบลานด้วย ขอบใบลานก็อาจมีการตกแต่งให้สวยงาม แข็งแรง เรียกเป็นฉบับ ได้แก่ ฉบับล่องชาด ฉบับทองทึบ ถ้าไม่มีการตกแต่งเลยก็จะเรียกว่า ฉบับลานดิบ ขั้นตอนสุดท้ายในการเก็บรักษาอาจห่อด้วยผ้า อาจนำคัมภีร์หลายๆ ผูกมาห่อรวมกันก็ได้ แล้วเขียนบันทึกหรือทะเบียนติดไว้บนห่อเพื่อสะดวกในการค้นหา

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
งานประชาสัมพันธ์ อาคารประชาสัมพันธ์ โรงเรียนชลราษฎรอำรุง โทรศัพท์ /Tel: 038 282078 Ext. 101 โทรสาร/Fax : 038 282079 e-mail: khwuanyuen@gmail.com; prcru101@gmail.com
ขับเคลื่อนโดย Blogger.