โคลงหริภุญชัย



๗.โคลงหริภุญชัย

 ผู้แต่งสันนิษฐานทีผู้แต่งคนหนึ่ง อาจชื่อทิพแต่งไว้เป็นภาษาไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดออกมาเป็นภาษาไทยกลาง
อีกตอนหนึ่ง

 ประวัติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ว่าอาจเป็นประมาน พ.ศ.๒๑๘๐
 หรือก่อนหน้านั้นขึ้นไป ซึ่งเป็นระยะที่พระพุทธสิหิงค์ยังประดิษฐานอยู่ที่เชียงใหม่ราวศักราชสมเด็จพระเจ้าปราสาท
ทอง และกวีทางใต้คงนำมาดัดแปลงราวศักราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ศาสตราจารย์ ประเสริฐ ณ นคร 
ได้ศึกษาโคลงเรื่องนี้โดยเทียบกับต้นฉบับภาษาไทยเหนือที่เชียงใหม่และลงความว่าจะแต่งขึ้นในสมัย พ.ศ.๒๐๖๐ 
ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ ซึ่งเป็นเวลาที่พระแก้วมรกตยังอยู่ที่เจดีย์เชียงใหม่ เนื่องจากนิราศเรื่องนี้
ี้กล่าวถึงพระแก้วมรกตไว้ด้วย

 ทำนองแต่ง เดิมแต่งไว้เป็นโคลงไทยเหนือ ต่อมามีผู้ถอดเป็นโคลงสุภาพ

  ความมุ่งหมาย ผู้แต่งมีความมุ่งหมายเพื่อบรรยายความรู้สึกที่ต้องจากหญิงรักไปนมัสการพระธาตุหริภญชัย ที่เมือง
หริภุญชัย(ลำพูน)ก่อนออกเดินทางไปนมัสการลาพระพุทธสิหิงค์ขอพระพระมังราชหรือ พระมังรายซึ่งสถิต ณ ศาลา
เทพารักษ์ นมัสการลาพระแก้วมรกต เมื่อเดินทางพบสิ่งใดหรือตำบลใดก็พรรณาคร่ำครวญรำพันรักไปตลอด จนถึง
เมืองหริภุญชัยได้นมัสการพระธาตุ สมความตั้งใจ บรรยายพระธาตุ งานสมโภชพระธาตุ ตอนสุดท้ายลาพระธาตุกลับ
เชียงใหม่

 นอกจากนี้วรรณคดีเรื่องนี้ยังเป็นหลักฐานยืนยันถึงที่ตั้งปูชนียสถาน และโบราณวัตถุที่เชียงใหม่และลำพูน กล่าวถึง
การเล่นมหรสพต่างๆ ในสมัยโบราณ และวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ เช่น สุธนู สมุทรโฆษ  พระรถเมรี เป็นต้น
 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญขอ งโคลงหริภุญชัย ไว้ใน
ฉบับพิมพ์ พ.ศ.๒๔๖๗ ว่า "อาจเป็นต้นแบบอย่างของนิราศที่แต่งเป็นโคลงและกลอนกันในกรุงศรีอยุธยาตลอดมา
จนกรุงรัตนโกสินทร์ ถ้ามิได้เป็นแบบอย่างก็เป็นนิราศชั้นเก่าที่สุด"

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
งานประชาสัมพันธ์ อาคารประชาสัมพันธ์ โรงเรียนชลราษฎรอำรุง โทรศัพท์ /Tel: 038 282078 Ext. 101 โทรสาร/Fax : 038 282079 e-mail: khwuanyuen@gmail.com; prcru101@gmail.com
ขับเคลื่อนโดย Blogger.