มหาชาติคำหลวง




๒.มหาชาติคำหลวง

 ผู้แต่ง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่ง เมื่อจุลศักราช ๘๔๔ พุทธศักราช
 ๒๐๒๕  สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิปดีที่ ๒ หรือสามพระยา ก่อน
เสวยราชย์ พระราชบิดาภิเษกให้เป็นพระมหาอุปราช และโปรดให้เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจสิทธิ์ขาด
ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้รับราชสมบัติสืบต่อพระราชบิดา ระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑ 

 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ทรงแก้ไขการปกครอง โดย
แยกทหารและพลเรือนออกจากกัน ฝ่ายทหารมีหัวหน้าเป็นสมุหกลาโหม ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายก ทรงตั้งยศ
ข้าราชการลดลั่นกันตามชั้น เช่น ขุน หลวง พระยา พระ ทรงทำสงครามกับเชียงใหม่ ได้เมืองเชียงใหม่ พ.ศ.
๒๐๑๗ เป็นเหตุให้เกิดลิลิตยวนพ่าย พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา เสด็จออกผนวชชั่วระยะหนึ่ง ที่
วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลก การทำนุบำรุงพระศาสนาในรัชกาลนี้ทำให้เกิดมหาชาติคำหลวง



 ประวัติ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่ง
และปีที่ แต่งมหาชาติคำหลวง ปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติ
คำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะ
และนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครอบ ๑๓ กัณฑ์ เมื่อจุลศักราช ๑๑๗๖ พุทธศักราช ๒๓๔๗ ได้แก่ กัณฑ์ หิมพานต์ ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่อง
 มหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง

 หนังสือคำหลวงมีลักษณะดังนี้
 ๑.เป็นพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูง
 ๒.เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระศาสนาและศีลธรรม
 ๓.ใช้คำประพันธ์หลายประเภท คือโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน  และร่าย
 ๔.ใช้สวดเข้าทำนองหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดประดิษฐ์ขึ้นได้ 

 ความมุ่งหมาย เพื่อใช้อ่านหรือสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา และอาจเรียกรอยตามพระพุทธธรรม
ราชาลิไท ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระเรื่อง

 เรื่องย่อ แบ่งออกเป็น ๑๓ ตอน ซึ่งเรียกว่ากัณฑ์ดังนี้
 กัณฑ์ทศพร เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วเสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นเสด็จไปโปรดพุทธ
บิดา และพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เกิดฝนโบกขพรรษ พระสงฆ์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่อง
พระเวสสันชาดก เริ่มตั้งแต่เมื่อกัปที่ ๙๘ นับเป็นแต่ปัจจุบัน พระนางผุสดีซึ่งจะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดร
 ทรงอธิฐานขอเป็นมารดาของผู้มีใจบุญ จบลงตอนพระนางได้รับพระ ๑๐ ประการจากพระอินทร์

 กัณฑ์หิมพานต์  พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญญชัยกับพระนาวผุสดี แห่งแคว้นสีวีราษฎร์
ประสูติตรอกพ่อค้า เมื่อพระเวสสันดรได้เวนราชสมบัติจากพระมารดา  ได้พระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่กษัตริย์แห่ง
แคว้นกลิงรางราษฎร์ ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกเนรเทศไปอยู่ป่าหิมพานต์

 กัณฑ์ทานกัณฑ์ ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตตดกทาน คือ ช้าง ม้า รถ ทาสชาย ทาส
หญิง โคนม และนางสนม อย่าง ๗๐๐
 
 กัณฑ์วนประเวสน์ พระเวสสันดรทรงพาพระนางมัทรีพระชายา พระชาลีและพระกันหาพระโอรสพระธิดา เสด็จจาก
เมืองผ่านแคว้นเจตราษฏร์จนเสด็จถึงเขาวงกตในป่าหิมพานต์

 กัณฑ์ชูชก ชูชกพราหมณ์ขอทานได้นางอมิตดาเป็นภรรยา นางใช้ให้ไปขอสองกุมาร ชูชกเดินทางไปสืบข่าวใน
แคว้นสีวีราษฏร์ สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง พบเจตบุตร ลวงเจตบุตร ให้บอกทางไปยังเขาวงกต

 กัณฑ์จุลพน ชูชกเดินทางผ่านป่าตามเส้นทางตามที่เจตบุตรแนะจนถึงทีอยู่ของอัจจุตฤษี

 กัณฑ์มหาพน ชูชกลวงอัจจุจฤษี ให้บอกทางผ่านป่าใหญ่ไปยังที่ประทับของพระเวสสันดร

 กัณฑ์กุมาร ชูชกทูลขอสองกุมาร ทุบตีสองกุมารเฉพาะพรพักตร์พระเวสสันดร แล้วพาออกเดินทาง

 กัณฑ์มัทรี พระนางมัทรีเสด็จกลับมาจากหาผลไม้ที่ป่า ออกติดตามสองกุมารตลอกคืน จนถึงทางวิสัญญีเฉพาะ
พระพักตร์พระเวสสันดร เมื่อทรงพื้นแล้ว พระเวสสันดรเล่าความจริงเกี่ยวกับสองกุมาร พระนางทรงอนุโมทนาด้วย

 กัณฑ์สักกบรรพ พระอินทร์ทรงเกรงว่าจะผู้ที่มาพระนางมัทรีไปเสีย ทรงเปลงเป็นพราหมณ์ชรามาทูลของพระนาง
มัทรีแล้วฝากไว้ที่พระเวสสันดร

 กัณฑ์มหาราช ชูชกเดินทางเข้าแคว้นสีวีราษฎร์ พระเจ้าสญชัยทรงไถ่สองกุมาร ชูชกได้รับพระราชทานเลี้ยง และ
ถึงแก่กรรมด้วยการบริโภคอาหารมากเกินควร

 กัณฑ์ฉกษัตริย์ พระเจ้าสัญญชัย พระนางผุสดี พระชาลี และพระกันหา เสด็จไปทูลเชิญพระเวสสันดรและพระนาง
มัทรีกลับ เมื่อกษัตริย์หกพระองค์ทรงพบกัน ก็ทรงวิสัญญี  ต่อฝนโบกขพรรษตก จึงทรงฟื้นขึ้น

 กัณฑ์นครกัณฑ์ กษัตริย์ทั้งหกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดังเดิม บ้านเมืองสมบูรณ์พูน
สุข

 ตัวอย่างบางตอน

นางมัทรีโศกถึงชาลีกัณหา
 หํสาว
ดุจหงษโปฏก กระเหว่าเล่านนก พลัดแม่สูญหาย
 อุปริปลฺลเล
ตกต่ำติดตม อดนมปางตาย ดุจแก้วแม่หาย ไม่คอยมารดา
 เต มิคา วิย อุกกณฺณา
หนึ่งบุตรเนื้อทราย มิโรทกบวย ทรามรักษาเสนหา
 สมนฺตามฺมภิธาวิโน
ยกหูชูคอ คอยถ้ามารดา เห็นแม่กลับมา วิ่งเข้า เชอยชม
 อานนฺทิโน ปมุทิตา
วิ่งซ้ายวิ่งเข้ามา  ชมรอบมารดา แล้วเข้ากินนม
 วคฺคมานาว กมฺปเร
ลองเชองเรองไป ให้แม่ชื่นชม ให้ลืมอารมณ์ ดุจสองพงงงา
 ตฺยชฺช ปตฺเต น ปสฺสามิ 
พระแก้วแม่เอย บุรโพ้นย่อมคอย คอนรับมารดา
 ชาลิง กณฺหาชินํ จุโภ
วนนี้ไปไหน ไม่รู้เห็นหา โอ้สองพงงงา กัณหาชาลี

 มหาชาติคำหลวง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับศาสนาโดยตรง เป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทยเล่มแรก ที่ปรากฏหลัก
ฐานเหลืออยู่ มีใจความใกล้เคียงกับข้อความที่แต่งเป็นภาษาบาลี แสดงถึงความสามารถในการแปลและเรียบเรียง
ข้อความ การแทรกบาลีลงไว้มากมายเช่นนี้ ทำให้ฟังยากจนต้องมีการแต่งกาพย์มหาชาติขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จ
พระเจ้าทรงธรรม มหาชาติคำหลวงทั้งของเดิมและที่แต่งซ่อมใหม่ในรัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตโกสินทร์ นักปราชญ์
ราชบัณฑิตที่เป็นกวีหลายท่านช่วยกันแต่ง จึงมีสำนวนโวหารและถ้อนคำไพเราะเพราะพริ้งอยู่มาก แทรกไว้ด้วยรส
วรรณคดีหลายประการ เช่น ความโศก ความอาลัยรัก ความน้อยใจ และความงามของธรรมชาติ เป็นต้น นอกจาก
นี้ยังให้ความรู้ทางด้านภาษา ทำให้ทราบคำโบราณ คำแผลง และภาษาต่างประเทศ เช่น สันสกฤต และเขมร
เป็นต้น

 มหาชาติคำหลวงแสดงถึงความเลื่อมใสในพุทธศาสนา และความเชื่อในบุญกุสลที่เกิดจากฟังเทศน์เรื่องมหาชาติของ
คนไทยสืบต่อมาจากสุโขทัย    นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมีพระราชศรัทธาใน
พระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง การโปรดเกล้าฯให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งมหาชาติคำหลวง ก็เทียบได้พญาลิไท
ทรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วง

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
งานประชาสัมพันธ์ อาคารประชาสัมพันธ์ โรงเรียนชลราษฎรอำรุง โทรศัพท์ /Tel: 038 282078 Ext. 101 โทรสาร/Fax : 038 282079 e-mail: khwuanyuen@gmail.com; prcru101@gmail.com
ขับเคลื่อนโดย Blogger.