โึคลงกำสรวล



๕.โคลงกำสรวล

 ผู้แต่ง เคยเชื่อกันมาแต่เดิมว่าศีปราชญ์ผู้แต่งโคลงกำสรวลถูกเนรเทศไปนครศรีธรรมราช ในรัชกาลสมเด็จพระ
นารายณ์มหาราช และหญิงที่ศรีปราชญ์คร่ำครวญอาลัย คือ พระสนมศรีจุฬาลักษณ์ แต่มีผู้ออกความเห็นค้าน
ความเชื่อดังกล่าวว่าเรื่องโคลงกำสรวล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวถึงเส้นทางการเดินทางจาก
กรุงศรีอยุธยาไปสุดแค่จังหวัดประจวบคิรีขันธ์ ทั้งไม่ได้กล่าวถึงความทุกข์ร้อนและมูลที่ต้องเนรเทศ เมื่อพิจารณา
ถึงลักษณะคำประพันธ์และถ้อยคำสำนวนภาษาที่ใช้โคลงกำสรวลน่าจะแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น 

 ทำนองแต่ง แต่งด้วยโคลงตั้งบาทกุญชร บทแรกเป็นร่ายดั้น มีร่าย ๑ บท โคลงดั้น ๑๒๙ บท

 ความมุ่งหมาย เพื่อแสดงความอาลัยคนรัก ซึ่งผู้แต่งต้องจากไป

 เรื่องย่อ เริ่มด้วยร่ายสดุดีกรุงศรีอยุธยาว่ารุ่งเรืองงดงาม เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา ราษฎร์สมบูรณ์พูนสุข 
ต่อจากนั้นกล่าวถึงการที่ต้องจากนาง แสดงความห่วงใย ไม่แน่ใจว่าควรจะฝากนางไว้กับผู้ใดเดินทางผ่านตำบลหนึ่ง ๆ ก็รำพันเปรียบเทียบชื่อตำบลเข้ากับความอาลัยที่มีต่อนาง ตำลบที่ผ่าน เช่น บางกะจะ เกาะเรียน ด่านขนอน บางทรนาง บางขดาน ย่านขวาง ราชคราม ทุ่งพญาเมือง ละเท เชิงราก  นอกจากนี้ได้นำบุคคลในวรรณคดีมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตของตน เกิดความทุกข์ระทมที่ยังไม่พบได้นางอีกอย่างบุคคลในวรรณคดีเหล่านั้น โดยกล่าวถึง พระรามกับนางสีดา พระสูตรธนู(สุธนู)กับนางจิราประภา และพระสมุทรโฆษกกับนางพิษทุมดีว่าต่างได้อยู่ร่วมกันอีก ภายหลังที่ต้องจากกันชั่วเวลาหนึ่ง การพรรณนาสถานที่สิ้นสุดลงโดยที่ไม่ถึงนครศรีธรรมราช

 ตัวอย่างข้อความบางตอน
ชมเมือง
 อยุธยายศยิ่งฟ้า  ลงดิน แลฤา
อำนาจบุญเพรงพระ   ก่อเกื้อ
เจดียลอออินทร   ปราสาท
ในทาบทองแล้วเนื้อ   นอกโสม
 พรายพรายพระธาตุเจ้า  จยนจันทร์ แจ่มแฮ
ไตรโลกยเลงคือโคม   ค่ำเช้า
พิหารรบยงบรรพ   รุจิเรข เรืองเฮ
ทุกแห่งห้องพระเจ้า   น่งงเนือง

ฝากนาง
 โฉมแม่จกฝากน่านน้ำ  อรรณพ แลฤา
อินทรท่านทอดโฉมเอา   สู่ฟ้า
โฉมแม่จกฝากดิน   ดินท่าน แล้วแฮ
ดินฤาขดดเจ้าเหล้า   สู่สํสองสํ
 โฮมแม่ฝากน่านน้ำ  อรรณพ แลฤา
ยยวนาคเชอยชํอก   พี่ไหม้
โฉมแม่รำพึงจบ   ไตรโลก
โฉมแม่ใครสงวนได้   เท่าเจ้าสงวนเอง

 โคลงกำสรวลเป็นงานนิพนธ์เรื่องเอกของศรีปราชญ์ มีคุนค่าทางวรรณคดีอย่างยอดเยียมถ้อยคำสำนวนโวหาร
ที่คมคายจับใจ แสดงความเป็นต้นคิดหลายตอน ทำให้กวีรุ่นหลังพากันเลียมแบบอย่าง เช่น ตอนชนเมือง และ
ตอนฝากนาง นอกจากนี้ยังให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องอื่น ๆ บางเรื่อง เช่น รามเกียรติ์ สมุทรโฆษ ในด้าน
ภาษา โคลงกำสรวลใช้คำที่เป็นภาษาโบราณ ภาษาถิ่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรอยู่มาก

 โคลงกำสรวลแสดงให้เห็นความวิจิตตระการของปราสาทราชวัง และวัดวาอารามของกรุงศรีอยุธยา ความเป็นอยู่
ของประชาชนในด้านการแต่งกาย อาหารการกิน การเล่นรื่นเริง และสภาพภูมิศาสตร์เส้นทางการเดินทางของกวี

---------------------------------------------------------------------------------------------

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
งานประชาสัมพันธ์ อาคารประชาสัมพันธ์ โรงเรียนชลราษฎรอำรุง โทรศัพท์ /Tel: 038 282078 Ext. 101 โทรสาร/Fax : 038 282079 e-mail: khwuanyuen@gmail.com; prcru101@gmail.com
ขับเคลื่อนโดย Blogger.