ลิลิตพระลอ



๔.ลิลิตพระลอ

 ผู้แต่งและสมัยที่แต่ง เพื่อพิจารณาจากร่ายบทนำเรี่อง ซึ่งกล่าวสดุดีพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา ที่ทรงมีชัยแก่
ชาวลานนาที่ว่า "ฝ่ายช้างยวนแพ้พ่าย ฝ่ายช้างลาวประลัย ฝ่ายช้างไทยชัเยศคืนยังประเทศพิศาล"พอสันนิษฐาน
ได้ว่าช่วงเวลาที่แต่งลิลิตพระลอ จะต้องอยู่ภายหลังการชนะศึกเชียงใหม่ครั้งใดครั้งหนึ่ง อาจเป็นรัชกาลสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถ(พ.ศ.๒๐๑๗)หรือสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.๒๒๐๕)

 เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์ ลิลิตพระลอแต่งด้วนลิลิต ซึ่งเป็นลักษณะคำประพันธ์ที่นิยมใช้ในสมัยกรุงศรี
อยุธยาตอนต้น เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ ลิลิตยวนพ่าย ส่วนในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมักแต่งโคลง
ฉันท์เป็นส่วนมาก เช่น โคลงเฉลิมพระเกีรยติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมุทรโฆษคำฉันท์ และอนิรุทธ์คำฉันท์
 ลิลิตพระลอยังใช้ภาษาเก่ากว่าภาษาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เช่น คำ "ชิ่นแล"และคำ "แว่น"ซึ่งเป็น
คำทีมีใช้ในมหาชาติคำหลวงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นอกจากนี้หนังสือจินดามณี ของพระโหราธิบดี สมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ยกโทคลงในลิลิตพระลอเป็นตัวอย่างโคลงสี่สุภาพที่ว่า
 เสียงฦาเสียงเล่าอ้าง  อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร   ทั่วหล้า
สองขือพี่หลับใหล   ลืมตื่น ฦาพี่
สองพี่คิดเองอ้า   อย่าได้ถามเผือ

 จากเหตุผลดังกล่าวพอสรูปได้ว่า ลิลิตพระลอ จะต้องแต่งก่อนสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระเจ้าบรม
วงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพิจารณาโคลงบอกผู้แต่ง สองบทท้ายเรื่องที่ขึ้นต้นว่า "จบเสร็จมหาราช
เจ้า นิพนธ์"และ "จบเสร็จเยาวราชบรรจง"ทรงสันนิษฐานว่าลิลิตพระลออาจแต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน ในขณะที่
ผู้แต่งยังเป็นพระมหาอุปราช ต่อมาพระมหาอุปราชพระองค์นั้นได้รับรัชทายาทเป็นพระเจ้าแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ตอนต้น อาจเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิปดีที่ ๓ สมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๒ หรือ สมเด็จพระบรมราชาหน่อพุทธางกูร
ก็ได้

 ส่วนเหตุผลที่ว่า ลิลิตพระลอแต่งในสมัยพระนารายณ์มหาราช เนื่องจากสันนิษฐานคำ "มหาราชเจ้านิพนธ์"และ
"สมเด็จเยาวเจ้าบรรจง"ในโคลงสองบทดังกล่าวว่า หมายถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงพระราชนิพนธ์ และ
เจ้าฟ้าอภัยทศพระราชอนุชาทรงเขียน
 
              ทำนองแต่ง เป็นคำประพันธ์ประเภทลิลิตสุภาพ ประกอบด้วยร่ายสุภาพและโคลงสุภาพเป็นส่วน
ใหญ่ บางโคลงมีลักษณะคล้ายโคลงดั้นและโคลงโบราณ และร่ายบางบทเป็นร่ายโบราณและร่ายดั้น

 ความมุ่งหมาย แต่งถวายพระเจ้าแผ่นดิน เพื่อให้เป็นที่สำราญหฤทัย

 เรื่องย่อ เมืองสรวงและเมืองสรองเป็นศัตรูกัน พระลอกษัตริย์เมืองสรวงทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก จนเป็นที่ต้องพระทัย
พระเพื่อนพระแพงราชธิดาของท้าวพิชัยพิษณุกรกษัตริย์แห่งเมืองสรอง นางรื่นนางโรยพระพี่เลี้ยงได้ขอให้ปูเจ้าสมิง
พรายช่วยทำเสน่ห์ให้พระลอเสด็จมาเมืองสรวง เมื่อพระลอต้องเสน่ห์ได้ตรัสลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และ
นางลักษณวดีมเหสี เสด็จไปเมืองสรองพร้อมกับนายแก้งนางขวัญพระพี่เลี้ยง
 พระลอทรงเสี่ยวน้ำที่แม่น้ำกาหลง ถึงแม้จะปรากฏรางร้ายก็ทรงผืนพระทัยเสด็จต่อไป ไก่ผีของปูเจ้าสมิงพรายล่อ
พระลอกับนายขวัญและนายแก้วไปจนถึงสวนหลวง นางรื่นนางโรยออกอุบายลอบนำพระลอกับนายแก้วและนายขวัญ
ไปไว้ในตำหนักของพระเพื่อนพระแพง
 ท้าวพิชัยพิษณุกรทรงทราบเรื่องก็ทรงพระเมตตารับสั่งจะจัดการอภิเษกพระลอกับพระเพื่อนและพระแพงให้ แต่พระ
เจ้าย่าเลี้ยงของพระเพื่อนพระแพงยังทรงพยาบาลพระลอ อ้างรับสั่งท้าวพิชัยพิษณุกรตรัสสั่งใช้ให้ทหารไปรุมจับ
พระลอ พระเพื่อนพระอพงและพระพี่เลี้ยงทั้งสี่ช่วยกันต่อสู้จนสิ้นชีวิตทั้งหมดท้าวพิชัยพิษณุกรทรงพระพิโรธพระเจ้า
ย่าและทหาร รับสั่งให้ประหารชีวิตทุกคน พระนางบุญเหลือทรงส่งทูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์สาม ในที่สุดเมือง
สรวงและเมืองสรองกัลเป็นไมตรีต่อกัน

 ตัวอย่างข้อความบางตอน

บทโศก
๑.พระนางบุญเหลือทรงรำพันเมื่อพระลอทูลลาเไปมืองสรอง
 คงชีพหวังได้พึ่ง   ภูมี พ่อแล
ม้วยชีพหวังฝากผี   พ่อได้
ดังฤาพ่อจักลี-   ลาจาก อกนา
ผีแม่ตายจักได้   ฝากให้ใครเผา

๒.ข้าราชการและประชาชนราษฎร์คร่ำครวญตอนพระลอลาจากเมือง
 เสียงโหยเสียงไห้มี  เรือนหลวง
ขุนหมื่นมนตรีปวง   ป่วยช้ำ
เรือนราษฎณ์ร่ำตีทรวง   ทุกข์ทั่ว กันนา
เมืองจะเย็นเป็นน้ำ   ย่อมน้ำตาครวญ

บทพรรณนาความรัก
๑.ระหว่างชู้คู่ครอง คู่ครองกับแม่ พระลอคร่ำครวญที่แม่น้ำกาหลง
 ร้อยชู้ฤาเท่าเนื้อ  เมียตน
เมียแล่พันฤาดล   แม่ได้
ทรงครรภ์คลอดเป็นคน   ฤาง่า เลยนา
เลียงยากนักท้าวไท้   ธิราชผู้มีคุณ

๒.ชู้รัก พระลอตรัสต่อพระเพื่อนพระแพง
 เมืองกว้างช้างม้าซู่  ละเสีย อ่อนเอย
เสียแม่เสียเมียมา   สู้น้อง
เสียสนมดุจดวงพเยีย   งามแง่ งามนา
มาแต่ตัวเข้าข้าง   ข่ายท้าวทั้งสอง
 พี่พบน้องเพี้ยงแต่  ยามเดียว
คือเชือกผสมสามเกลียง   แฝดฝั้น
ดั่งฤาจะพลันเหลียว   คืนจาก เรียมนา
เจ้าจากเรียมจักกลั้น   สวามกลั้นใจตาย

คติธรรม
๑.พระลอตรัสต่อพระนางบุญเหลือตอนที่เสด็จออกจากเมือง
 ใดใดในโลกล้วน  อนิจจัง
คงแต่บาปบุญยัง   เที่ยงแท้
คือเงาติดตัวตรัง   ตรึงแน่น อยู่นา
ตามแต่บุญบาปแล้   ก่อเกื้อรักษา

๒.นายแก้วนายขวัญกราบทูลเตือนพระสติแก่พระลอ ตอนเสด็จมาถึงชนบททอดพระเนตรเห็นภูมิประเทศอันทุรกันดาร
 พระเอยอาบน้ำขุ่น  เอาเย็น
ปลารผอกหมกเหม็นยาม                  ยากเคี้ยว
รุกรุยราคจำเป็น   ปางเมื่อ แคลนา
อดอยู่เยี่ยวดิ้วเดี่ยว   อยู่ได้ฉันใด
 ยามไร้เด็ดดอกหญ้า  แซมผม พระเอย
หอมบ่หอมทัดดม   ดั่งบ้า
สุกรมลำดวนชม   เชยกลิ่น พระเอย
หอมกลิ่นเรียมโอ้อ้า   กลิ่นแก้วติดใจ

๓. นายแก้วนายขวัญนางรื่นนางโรยกล่าวเตือนสติต่อกัน เพื่ออดใจไม่แสดงความรักต่อกันในตำหนับของพระเพื่อน
พระแพง เป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อเจ้านายและสถานทที่สำคัญในตำหนักพระเพื่อนพระแพง 
เป็นการแสดงความเคารพและจงรักภักดีต่อเจ้านายและสถานที่สำคัญ
 เรานี้เราเผ่าผู้  ภักดี
ผิดเท่าธุลีกลัว   เกลียดใกล้
ผิผิดกึ่งเกศี                   แหน่งว่า ตายนา
ดีกว่าเป็นคนให้   ท่านชี้หลังตน

 วรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้ตัดสินให้ลิลิตพระลอเป็นยอดแห่งวรรณคดีประเภทลิลิตวรรณคดีเรื่องนี้มี
ลักษณะเด่นหลายประการ โคลงเรื่องประกอบด้วยเหตุการณ์ที่ตื่นเต้น สะเทือนใจตลอด มีตอนรัก ตอนสยดสยอง
การใช้ถ้อยคำและโวหารนับว่าคมคายยิ่งนัก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา

 ลิลิตพระลอได้เค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมือง แสดงถึงสภาพความเป็นไปของสังคมในเวลานั้นอย่างเด่นหลายประการ
ในด้านการปกครองแสดงให้เห็นการปกครองแบบนครัฐ คือ เมือง เล็ก ๆ ตั้งเป็นอิสระแก่กัน อันเป็นลักษณะที่
ปรากฏทั่วไปก่อนสมัยสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยดินแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย นอกจากนี้
เรื่องพระลอยังเป็นตัวอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งอำนาจสูงสุดในการปกครอง
ประเทศตกอยู่แก่ประมูขผู้เดียวเกี่ยวกับลัทธความเชื่อของสังคมก็ปรากฏเด่นชัดในด้านภูตผีปีศาจ เสน่ห์ยาแฝดโชค
ลาง ความฝัน และความชื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระเจ้าแผ่นดินพระพี่เลี้ยงทั้ง ๔ ดังปรากฏในสุภาษิตพระร่วง ที่ว่า 
"อาสาเจ้าจนตัวตาย"สภาพสังคมทั่วไปที่เห็นได้จากวรรณคดีเรื่องนี้ได้แก่ การใช้ช้างทำสงครามและเป็นพาหนะ 
ความนิยมและขับร้อง และการบรรจุพระศพกษัตริย์ลงโลงทองแทนพระโกศอย่างในสมัยหลัง
 
               ลิลิตพระลอเป็นที่นิยมยกย่องมาช้านาน เช่น พระโหราธิบดีสมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ยก
โคลงที่แต่งถูกแผนบังคับและมีความไพเราะจับใจอันเป็นคำของพระเพื่อนพระแพงตรัสแก่พระพี่เลี้ยงไปไว้เป็นแบบ
อย่างโคลงสี่สุภาพในหนังสือจินดามณี โคลงดังกล่าวคือ
 เสียงฦาเสียงเล่าอ้าง  อันใด พี่เอย
เสียงย่อมยอยศใคร   ทั่วหล้า
สองขือพี่หลับใหล   ลืมตื่น ฦาพี่
สองพี่คิดเองอ้า   อย่าได้ถามเผือ
 
                  ลิลิตพระลอเป็นวรรณคดีแบบฉบับ คือ เป็นแบบครูที่วรรณคดีในสมัยหลังนิยมเลียน
อย่างในการพรรณนาและบรรยายขยายความ เช่น ลิลิตเพชรมุฏ และลิลิตตะเลงพ่าย

ป้ายกำกับ:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
งานประชาสัมพันธ์ อาคารประชาสัมพันธ์ โรงเรียนชลราษฎรอำรุง โทรศัพท์ /Tel: 038 282078 Ext. 101 โทรสาร/Fax : 038 282079 e-mail: khwuanyuen@gmail.com; prcru101@gmail.com
ขับเคลื่อนโดย Blogger.