วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 |
0
ความคิดเห็น
๑.ลิลิตโองการแข่งน้ำ
ผู้แต่ง สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงสันนิษฐานว่าอาจแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิปดีที่๑ (อู่ทอง) ผู้แต่งคงจะเป็นผู้รู้พิธีพราหมณ์ และรู้วิธีประพันธ์
ของไทยเป็นอย่างดี
สมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง)เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงอยุธยา
สมเด็จฯกรมพระยาดำรวราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานส่าสมเด็จพระรามาธิปดีที่ ๑เป็นเชื้อสายของพระเจ้าสิริชัยเชียง
แสนแห่งแคว้นสิริธรรมราช จึงเป็นต้นวงศ์เชียงราย เป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าอู่ทอง เมื่อ พ.ศ.๑๘๘๗ ได้เป็น
เจ้าเมืองอู่ทอง ซึ่งขณะนั้นขึ้นต่อเมืองสุโขทัย ต่อมาเกิดโรคระบาด จึงทรงย้ายราชธานีมาตั้งตำบลหนองโสน แขวง
เมืองอโยธยา เมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓
ขนานนามใหม่ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา และพระองค์ได้รับพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระ
รามาธิปดีที่ ๑ ทรงตั้งพระองค์เป็นใหญ๋ไม่ขึ้นต่อกรุงสุโขทัยนับแต่สถาปนาราชธานี
ในรัชกาลนี้ได้รับวัฒนธรรมขอมและพราหมณ์เป็นอันมาก ภาษาไทยจึงเริ่มมีคำเขมรเข้ามาปะปนมากขึ้นมีการ
ประกอบพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพิธีศรีสัจปานกาล ตามแบบเขมร ซึ่งถ่ายทอดมาจากพราหมณ์อีกต่อหนึ่ง
ประวัติ ต้นฉบับเดิมที่เหลืออยู่เขียนด้วยอักษรขอม ข้อความที่เพิ่มขึ้นในรัชกาลที่๔ ตามหลักฐานซึ่งรัชกาลที่ ๕
ทรงยืนยันไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน คือ "แทงพระแสงศรประลัยวาต" "แทงพระแสงศรอัคนิวาต" และ
"แทงพระแสงศรพรหมมาสตร์"คำประพันธ์ที่ใช้คือโคลงห้าและร่ายโบราณ
หนังสือเรื่องนี้นับว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของคนไทย ที่แต่งเป็นร้อยกรองอย่างสมบูรณ์แบบ ชื่อเรียกแต่เดิมว่า
โองการแช่งน้ำบ้าง ประกาศแช่งน้ำโคลงห้าบ้าง ต้นฉบับที่ถอดเป็นอักษรไทยจัดเป็นวรรคตอนคำประพันธ์ไว้ค่อนข้าง
สับสน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเจ้าอยู่หัว ทรงสอบทานและพระราชวินิจฉัยเรียบเรียงวรรคตอนใหม่
ทำนองแต่ง มีลักษณะเป็นลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงแบบโคลงห้า
หรือมณฑกคติ ถ้อยคำ ถ้อยคำที่ใช้ส่วนมากเป็นคำไทยโบราณ นอกจากนั้นมีคำเขมร และบาลี สันสกฤต ปนอยู่
ด้วย คำสันสกฤตมีมากกว่าคำบาลี
ความมุ่งหมาย ใช้อ่านในพิธีถือพระพิพัฒน์สัตยาหรือพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง
สึบต่อกันมาจนเลิกไปเมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย ใน พ.ศ.๒๔๗๕
เรื่องย่อ เริ่มต้นด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหมตามลำดับ ต่อจากนั้น
บรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึงไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ เกิด
มนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มีพระราชาธิบดีในหมู่คน แล้วอัญเชิญพระกรรม
บดีปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เรืองอำนาจมี พระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์ เทพยาดา อสูร ภูตปีศาจ ตลอดจนสัตว์มีเขี้เล็บเป็นพยาน ลงโทษผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วน
ผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ตอนจบเป็นร่ายยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน
ตังอย่างข้อความบางตอน
สรรเสริญพระนารายณ์
โอมสิทธิสธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วฤตยู เอางูปนแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุธมาขี่ส สี่ถือสังขืจักรคธารณี
ภีรุอวตาร อสุรแลงลาญทัก ททัคนียจรนายฯ แทงพระแสงศรปลัยวาดฯ
กล่างถึงไฟประลัยกัลป์
นานเอนกน้าวเดิมกัลป์ จักร่ำจักราพาฬเมื่อไหม้
กล่าวถึงตรวันเจดอันพลุ่ง น้ำแล้วไข้อดหาย
เจ็ดปลามันพุ่งหล้าเป็นไฟวาบ จัตุราบบายแผ่นขว้ำ
ชักไตรตรึงษ์เปนผ้า แลบล้ำสีลอง
อัญเชิญพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพรหม เทพยาดา และภูตผีปีศาจ เป็นพยาน
ผู้ใดเภทจงคด ถือขันสรดใบพูตานเสียด มารเฟียดไททศพล ช่วยดู ธรรมารคประเตยก ช่วยดูอเนกกถ่องพระสงฆ์
ช่วดู ขุนหงษทองเกล้าสี่ ช่วยดู ฟ้าฟัดพรีใจยังดู ช่วยดู สี่ปวงผรีหาวแห่ง ช่วยดูฟ้าชรแร่งหกคลอง ช่วยดู ผองผี
กลางหาวแอ่น ช่วยดู ฟ้ากระแฉ่นเรืองผยอง ช่วยดู เจ้าผาดำสามเส้า ช่วยดู แสนผีพึงยอมเท้า เจ้าผาดำผาเผือก
ช่วยดูฯ
คำสาปแช่งผู้คิดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน
จงเทพยดา ฝูงนี้ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามปี อย่าให้มีศุขสวัสดิ์ เมื่อใดฯ
ลิลิตโองการแช่งน้ำ ใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจยาก และเป็นคำห้วนหนักแน่น เพื่อให้เกิดความน่าเคารพยำเกรง
ความพรรณนาบางตอนละเอียดละออ เช่น ตอนกล่าวกถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และมีอำนาจก็สรรหามากล่าวไว้มากมาย
นอกจากนี้ยังใช้ถ้อยคำประเภทโคลงห้าและร่ายดั้น ซึ่งมีจังหวะลีลาไม่ราบรื่น สะดุดเป็นตอน ๆ ยิ่งเพิ่มความขลัง
ขึ้นอีกเป็นอันมาก จึงนับได้ว่าลิลิตโองการแช่งน้ำเรื่องนี้แต่งได้เหมาะสมกับความมุ่งหมายสำหรับใช้อ่านหรือสวดใน
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ซึ่งมีความสำคัญแก่การเพิ่มพูนพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ในระบบ
สมบูรณาญาสิทธิราชย์
วรรณคดีเรื่องนี้มีกำเนิดจากพระราชพิธีในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แสดงถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมเขมร และ
พราหมณ์อย่างชัดเจน สมเด็จพระเจ้าอู่ทองทรงรับการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และพระราชพิธีศรีสัจ
ปานจากเขมรมาใช้ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์ของบ้านเมืองที่ต้องการสร้างอำนาจปกครองของพระเจ้าแผ่นดิน
และความมั่นคงของบ้านเมืองในระยะที่เพิ่งก่อสร้างราชอาณาจักร
ในสมัยสุโขทัยไม่ปรากฏว่ามีพระราชพิธีศรีสัจปานกาล เนื่องจากกษัตริย์สุโขทัยทรงปกครองบ้านเมือบแบบพ่อ
ปกครองลูก ถึงแม้หลักศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๔๕ มีเนื้อความเกี่ยวกับการสบถสาบานระหว่างกษัตริย์สุโขทัย
ผู้เป็นหลานกับเจ้าเมืองน่านผู้ปู่ และถ้อยคำบางตอนคล้ายกับลิลิตโองการแช่งน้ำ แต่ก็เป็นการสาบานระหว่างบุคคล
เฉพาะกรณี ไม่ใช่พิธีทางราชการทั่วไปกระทำต่อพระเจ้าแผ่นดินเป็นการทั่วไปอย่างที่กรึงศรีอยุธยา อนึ่งข้อความนี้
จารึกไว้ใน พ.ศ.๑๙๓๕ ซึ่งอาจเป็นสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๒หรือพระมหาธรรมราชาที่ ๓ (ไสยลือไท)ตรง
กับรัชการสมเด็จพระราเมศวรแห่งกรุงรีอยุธยา เป็นช่วงที่กรุงสุโขทัยเสียอิสระภาแก่กรุงศรีอยุธยาตั้งแต่ พ.ศ.
๑๙๒๑ ถ้าพระราชพิธีสัจปานกาลเคยกระทำที่สุโขทัยก็จะต้องเป็นเวลาภายหลังที่กรุงสุโขทัยตกอยู่ในอำนาจ
ปกครองและอิทธพลทางวัฒนธรรมของ กรุงศริอยุธยาแล้ว
ป้ายกำกับ:
ลิลิตโองการแข่งน้ำ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น