วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555 |
0
ความคิดเห็น
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย (พ.ศ. ๒๒๗๕-พ.ศ. ๒๓๑๐) กวีและวรรณคดีสำคัญสมัยอยุธยาตอนปลาย ๑. พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ งานที่ทรงพระราชนิพนธ์ คือ - โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ ๒. เจ้าฟ้าอภัย งานที่ทรงนิพนธ์ คือ - โคลงนิราศ ๓. เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร งานที่ทรงนิพนธ์ คือ - นันโทปนันทสูตรคำหลวง - พระมาลัยคำหลวง - กาพย์เห่เรือ - กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง - กาพย์ห่อโคลงนิราศ - บทเห่เรื่องกากี เห่สังวาส เห่ครวญ และเพลงยาว ๔. เจ้าฟ้ากุณฑล งานที่ทรงนิพนธ์ คือ - ดาหลัง (อิเหนาใหญ่) ๕. เจ้าฟ้ามงกุฎ งานที่ทรงนิพนธ์ คือ - อิเหนา (อิเหนาเล็ก) ๖. พระมหานาควัดท่าทราย งานที่แต่ง คือ - ปุณโณวาทคำฉันท์ - โคลงนิราศพระบาท ๗. หลวงศรีปรีชา (เซ่ง) งานที่แต่ง คือ - กลบทสิริวิบุลกิติ เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กรุงศรีอยุธยาเริ่มระส่ำระสาย เนื่องจากการชิง ราชสมบัติ เกิดกบฏและเกิดสงครามกับนครศรีธรรมราชและกัมพูชาจึงทำให้วรรณคดีชะงักงันเป็นเวลาเกือบครึ่ง ศตวรรษต่อมาได้มีโอกาสรุ่งเรืองขึ้นระยะหนึ่งเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ครองครองราชสมบัติทั้งนี้เพราะ พระมหากษัตริย์พระองค์นี้เอาพระทัยใส่ในการศึกษาเล่าเรียนของกุลบุตรเป็นพิเศษผู้ถวายตัวเข้ารับราชกาลจะต้อง มีวิชาความรู้ชั้นสามัญและบวชเรียนในพระพุทธศาสนามาก่อนทรงสนับสนุนงานวรรณคดีอย่างจริงจัง รัชกาลสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ซึ่งมีเวลา ๒๖ ปี มีความเจริญทางวรรณคดีเท่าเทียมกันกับยุคทองของวรรณคดี กวีมีทั้ง บรรพชิตและฆราวาสชายและหญิง เจ้านายและสามัญชน
ป้ายกำกับ:
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนปลาย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น